ว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญฯ59(1)
ดร.ตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและกีฬา
-----------------------------
ผ่านไปแล้วสำหรับการชี้แจงของ
กรธ.ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาปฏิรูปประเทศผมในฐานะสมาชิกสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติได้รับมอบหมายให้ตั้งคำถามในรัฐธรรมนูญแทนสมาชิกในวัน
นั้น
วันนี้ผมจะลองคลี่ดูรัฐธรรมนูญที่บัญญัติการศึกษาไว้ใน(ร่าง)รัฐธรรมนูญฉบับ
ที่จะไปทำประชามติว่ามีมาตราใดบ้างและแต่ละมาตรามีแนวทางหรือทิศทางตาม
เจตนารมณ์อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักการศึกษาและผู้ที่สนใจ
เริ่มต้นที่มาตรา 34 วรรคสอง เป็นการคุ้มครองในทางวิชาการความว่าเสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชนและต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น นั่นหมายถึงการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการโดยบริสุทธิ์ไม่อยู่ในเงื่อนไขต้อง ห้ามย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้
มาที่มาตรา 50 กำหนดให้บุคคล(คนไทย)มีหน้าที่สำคัญก็คือ(4)เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษา ภาคบังคับ เช่นเดียวกับหน้าที่เสียภาษี(9) รับราชการทหาร(4) หรือไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตมิชอบทุกรูปแบบ(10)หากเทียบเคียงกับการ เสียภาษีหรือการรับราชการทหารซึ่งอยู่ในมาตราเดียวกันเป็นหน้าที่ที่ถูก บังคับโดยรัฐธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต้องดูต่อไปว่าหากไม่เข้ารับการ ศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับจะมีความผิดเช่นใด หรือหน่วยงานของรัฐปฏิเสธการจัดการศึกษาให้แก่คนที่มีสัญชาติไทยได้หรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน
มาตราที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการศึกษาได้บัญญัติไว้ในหมวด 5 เป็นหน้าที่ของรัฐ คือมาตรา 54 กำหนดว่ารัฐต้องดำเนินการให้ทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนถึงการศึกษาภาคบังคับ อย่างมีคุณภาพและไม่เก็บค่าใช้จ่าย จึงอธิบายทีละวรรคพอสังเขปดังนี้
ในวรรคแรกเป็นการกำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาให้ฟรี มีคุณภาพเป็นเวลา 12 ปีเหมือนรัฐธรรมนูญฯปี 2540 และรัฐธรรมนูญฯปี 2550 เพียงแต่เริ่มนับหนึ่งตั้งแต่ก่อนวัยเรียน 3 ปี ระดับประถมศึกษา 6 ปีและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี รวมเป็น 12 ปี แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 40และปี 50 ให้นับการเรียนฟรีตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2559 ได้ให้ความสำคัญกับเด็กการวัยเรียนและระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นที่ถือว่าเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนที่สุด สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-6 นั้นจะอยู่ในระดับเดียวกับการศึกษาอาชีวศึกษาระดับ ปวช.1-3 ในระดับนี้รัฐบาลทุกรัฐบาลมีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้อยู่แล้ว สำหรับที่อ้างว่าเรียนฟรี 15 ปีนั้นเป็นนโยบายของพรรคการเมืองที่สามารถกำหนดให้เรียนฟรีได้มากกว่าที่รัฐ ธรรมนูญกำหนดไว้ได้จึงไม่เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์นักเรียนนักศึกษา แต่อย่างใดครับ
......พบกันครั้งต่อไปครับ...อีกหลายมาตราที่เกี่ยวกับการศึกษาครับ....