กรมบัญชีกลาง ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ในการขอกันเงิน งบประมาณปี 63 ไว้เบิกเหลื่อมปี

2814
กรมบัญชีกลาง ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ในการขอกันเงิน งบประมาณปี 63 ไว้เบิกเหลื่อมปี
กรมบัญชีกลาง ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ในการขอกันเงิน งบประมาณปี 63 ไว้เบิกเหลื่อมปี

กรมบัญชีกลาง ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ในการขอกันเงิน งบประมาณปี 63 ไว้เบิกเหลื่อมปี

กรมบัญชีกลาง ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ในการขอกันเงิน งบประมาณปี 63 ไว้เบิกเหลื่อมปี

กรมบัญชีกลางออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณปี 63 ไว้เบิกเหลื่อมปี

                               นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 43 กำหนดให้การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใด ให้กระทำได้เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น ในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ทัน ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินได้อีกไม่เกิน 6 เดือน ของปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องขอเบิกเงินภายหลังเวลาดังกล่าว ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอขยายเวลาออกไปอีกไม่เกิน 6 เดือน โดยหน่วยรับงบประมาณได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว ซึ่งตามระเบียบฯ ข้อ 106 กำหนดในเรื่องการขอกันเงิน    ไว้เบิกเหลื่อมปี หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณ โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลัง ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2563 ไว้เบิกเหลื่อมปี (กรณีมีหนี้ผูกพัน ทุกรายการโดยไม่กำหนดวงเงิน) ให้หน่วยงานของรัฐที่มีสัญญาหรือข้อตกลงซื้อหรือจ้าง ดำเนินการผ่านระบบ GFMIS Web Online เพื่อให้สามารถใช้จ่ายเงินงบประมาณได้อย่างต่อเนื่องบรรลุวัตถุประสงค์ ถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวทาง         ตามกฎหมาย ดังนี้

  1. หน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการ ให้บันทึก PO
  2. หน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการและต้องชำระเงินให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ และหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ ให้บันทึกเป็นเอกสารสำรองเงินประเภท CX
  3. หน่วยงานของรัฐที่ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและอยู่ระหว่างกระบวนการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ให้บันทึกเป็นเอกสารสำรองเงินประเภท CX ตามแนวทางปฏิบัติ ในการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี กรณีมีหนี้ผูกพัน

เมื่อได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างพัสดุเรียบร้อยแล้ว
ให้แก้ไขการบันทึกรายการดังกล่าว จากเอกสารสำรองเงินประเภท CX เป็น PO ให้แล้วเสร็จภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

  1. 4. หน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรงบประมาณในรายการเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง ตามสัญญาแบบ
    ปรับราคาได้ (ค่า K) ในรายการต่าง ๆ ที่กำหนด ให้บันทึกเป็นเอกสารสำรองเงินประเภท CK

“สำหรับหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการและเป็นหน่วยงานผู้เบิกที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาค  ต้องเลือก (LIST) เอกสารสำรองเงิน สรุปเลขที่เอกสารสำรองเงิน และรายละเอียดในแบบแจ้งรายละเอียดการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ส่งให้ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณหรือหน่วยงานผู้เบิกแทนเป็นผู้รวบรวม ยืนยันข้อมูล (CONFIRM) ในระบบ GFMIS และส่งให้กรมบัญชีกลางพิจารณา  ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีให้แล้วเสร็จ ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนกันยายน 2563 หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด งบประมาณดังกล่าวต้องถูกพับไป” โฆษกกรมบัญชีกลางกล่าว

กรมบัญชีกลาง ออกหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ในการขอกันเงิน งบประมาณปี 63 ไว้เบิกเหลื่อมปี

ขอบคุณที่มา : กรมบัญชีกลาง