มติ สภาผู้แทนราษร  ตั้ง  กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้  กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาจจะมี ร่าง พ.ร.บ.กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่) …พ.ศ. … เกิดขึ้น

1601

มติ สภาผู้แทนราษร  ตั้ง  กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้  กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาจจะมี
ร่าง พ.ร.บ.กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่) …พ.ศ. … เกิดขึ้น

 

advertisement

สวัสดีครับ   ครูอัพเดตดอทคอม   มีข่าวความเคลื่อนไหวในวงการเมืองที่เชื่อมโยงมาถึง  ระบบของการศึกษามาฝากครับ
ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) คือ องค์กรที่ให้โอกาสในการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนไทย ได้เรียนต่อด้วยการปล่อยกู้ทั้งค่าเทอม  และค่าครองชีพนั้น   เมื่อวานนี้ 20 ธ.ค.2562  มติ สภาผู้แทนราษร  เห็นชอบ ตั้ง  กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้  กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  ขึ้น  โดยมีแนวคิดว่า  อาจจะมี ร่าง พ.ร.บ.กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่) …พ.ศ. … เกิดขึ้น  อ่านรายละเอียดต่อด้านล่างนี้

 

มติ สภาผู้แทนราษร  ตั้ง  กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้  กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาจจะมี ร่าง พ.ร.บ.กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่) ...พ.ศ. ... เกิดขึ้น
มติ สภาผู้แทนราษร  ตั้ง  กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้  กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาจจะมี ร่าง พ.ร.บ.กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่) …พ.ศ. … เกิดขึ้น (ขอบคุณภาพจาก วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา)

 

advertisement

     ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กำหนดให้ กมธ. ชุดดังกล่าวมีจำนวน  49 คน  แบ่งเป็นสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีจำนวน 12 คน พรรคเพื่อไทย 10 คน พรรคพลังประชารัฐ 9 คน พรรคภูมิใจไทย 4 คน พรรคอนาคตใหม่ 6 คน พรรคประชาธิปัตย์ 4 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คน พรรคประชาชาติ 1 คน พรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน
     พร้อมกำหนดกรอบเวลาดำเนินงาน 60 วัน สำหรับญัตติดังกล่าว ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ต่างเล็งเห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และเสนอเป็นญัตติจำนวน 10 ญัตติ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
โดยผู้เสนอญัตติและคณะ อาทิ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ นายเกียรติ เหลืองขจรวิทย์ ส.ส.ลพบุรี พรรคภูมิใจไทย ที่ระบุถึงความสำคัญในการเสนอญัตติดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินการกองทุน กยศ. ซึ่งมีผู้กู้กว่า 5.6 ล้านราย แต่มีการชำระหนี้ร้อยละ 40 มีจำนวนผู้ผิดนัดเกือบ 3 ล้านคน คิดเป็นจำนวนเงินที่ยังไม่ได้รับการชำระกว่า 4 แสนล้านบาท จึงต้องการให้สภาทำการศึกษาหาแนวทางแก้ไขให้รอบด้าน ทั้งการศึกษาหาแนวทางให้กับกองทุนให้ได้รับการชำระหนี้ การหาทางออกให้กับลูกหนี้มีโอกาสใช้หนี้ให้กับกองทุนภายใต้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่อาจทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง โดยเฉพาะการที่ลูกหนี้ส่วนใหญ่ยังไม่มีงานทำ
     ขณะที่ นายสฤษดิ์ บุตรเนียน ส.ส.ปราจีนบุรี พรรคภูมิใจไทย อีกหนึ่งในผู้เสนอญัตติระบุว่า พรรคได้ทำการศึกษาและ
มีแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่) …พ.ศ. … โดยมีสาระสำคัญ อาทิ กำหนดให้ผู้กู้ยืมเงิน ภายหลังที่สำเร็จการศึกษาแล้วอาจเลือกทำงานให้รัฐแทนการชำระเงินกู้ยืมที่ได้รับไปตามสัญญากู้ยืมได้ นอกจากนี้ ผู้เสนอญัตติหลายคนแสดงความเห็นว่าควรมีการตัดดอกเบี้ยปรับออกไปด้วย
     ทั้งนี้ ภายหลังการเสนอญัตติ ส.ส.ต่างอภิปรายแสดงความเห็นด้วยให้มีการตั้ง กมธ.ศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิ นายจีรเดช ศรีวิราช ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า กยศ. ช่วยให้เยาวชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการศึกษา และช่วยสร้างบุคลากรขึ้นมาพัฒนาประเทศแล้วเป็นระยะเวลาหลายปี แต่การที่เยาวชนที่เคยกู้ยืมจำนวนกว่า 2 ล้านราย ที่ยังไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความต่างทางฐานะ การประสบปัญหาหนี้สินครัวเรือน หากจะมีการพักชำระหนี้อย่างน้อย 3-5 ปี หรือการทำให้เงินกู้ดังกล่าวปลอดดอกเบี้ย รวมถึงตัดดอกเบี้ยปรับออก จะสามารถช่วยผู้ที่ติดหนี้กับ กยศ.ได้ ขณะเดียวกัน นายจิรเดช เสนอแนะให้มีการยกเลิกข้อกำหนดให้มีผู้ค้ำประกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางที่ นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย เสนอ รวมทั้งมองว่าในอนาคตควรมีการยกเลิกกองทุน กยศ. แต่เปลี่ยนเป็นการให้เรียนฟรีต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา เพราะการลงทุนทางการศึกษานับเป็นการลงทุนแบบถาวรให้ประเทศ ขณะที่ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคอนาคตใหม่ ที่เห็นด้วยให้มีการจัดตั้ง กมธ. เพื่อช่วยหาแนวทางจัดการปัญหาดังกล่าว รวมทั้งควรจัดให้มีมาตรการที่ขยายผลไปถึงกระทรวงศึกษา ในการจัดการศึกษาได้เบ็ดเสร็จถึงระดับอุดมศึกษา

 

advertisement

 

ขอขอบคุณที่มาเนื้อหา  สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา