พล.อ.ดาว์พงษ์
รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนพัฒนาค่ายลูกเสือทั่วประเทศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 จัดโดยสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4
สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา โดยมีนายชัยยศ
อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ, นายเดช วรเจริญศรี
ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์
ในฐานะ
กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า ค่ายลูกเสือเป็นแหล่งเรียนรู้
และสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด
และบุคลากรทางการลูกเสือมาอย่างยาวนาน
ปัจจุบันค่ายลูกเสือหลายแห่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรม
และไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เพื่อร่วมกัน
โดยมีผู้รับผิดชอบค่ายลูกเสือ
ผู้รับผิดชอบโครงการในสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศ
รวมทั้งเจ้าของและผู้จัดการค่ายลูกเสือเอกชน จำนวน 65 คน เข้าร่วมประชุม
พล.อ.ดาว์พงษ์
รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า
ในการประชุมในครั้งนี้ได้ขอให้ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมแนะนำตัว
พร้อมทั้งกล่าวถึงศักยภาพของค่ายลูกเสือแต่ละแห่งที่ตนเองรับผิดชอบดูแล
ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้ด้วยวิธีลัดที่ทำให้ได้รับทราบข้อมูลของความรับผิดชอบค่ายลูกเสือที่มีความแตกต่างกันทั้ง
65 ค่ายทั่วประเทศ พร้อมทั้งได้ฝากแนวทางการพัฒนาค่ายลูกเสือ ดังนี้
-
การวางแผนพัฒนาค่ายลูกเสือ
ต้องคำนึงถึงลูกค้าซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่เข้ามาใช้บริการ
มีการจัดทำข้อมูลเพื่อวางแผนพัฒนาค่าย
จัดวางระบบการใช้งานและการดูแลบำรุงรักษา โดยคำนวณว่าในปีหนึ่งๆ
จะใช้ค่ายกี่วัน
และวันที่ไม่ได้ใช้งานจะมีการปรับปรุงสภาพค่ายส่วนใดอย่างไร
เพื่อรักษาสภาพของค่ายให้พร้อมรับการบริการได้อย่างมีมาตรฐาน ซึ่งในค่ายที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่
อาจวางแผนการพัฒนาค่ายเป็นระยะๆ (Phase) -
ระบบความปลอดภัย
ถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดทำค่าย ที่จะต้องให้ผู้เข้าค่ายมีความปลอดภัย
โดยในการจัดค่ายขอให้มีครูพยาบาลในการดูแลรักษาพยาบาลขั้นต้นไว้ด้วย -
งบประมาณในการพัฒนาค่ายลูกเสือ
ในจำนวน 65 ค่ายลูกเสือทั่วประเทศ มี 15
ค่ายที่ตั้งอยู่ภายในที่ดินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
ส่วนที่เหลือเป็นที่ราชพัสดุหรือจังหวัด
ซึ่งบางแห่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากจังหวัดด้วย เช่น ชัยนาท พิจิตร
จึงขอให้วางแผนบริหารงบประมาณไม่ให้เป็นไปในลักษณะเบี้ยหัวแตก
ส่วนค่ายลูกเสือใดที่มีความจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากภาครัฐ
ขอให้จัดทำแผนพัฒนาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
และหากจำเป็นที่จะต้องขอรับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจากหน่วยงานอื่น
เช่น เงินจากกองสลากฯ ก็จะได้หารือต่อไป -
บุคลากรที่รับผิดชอบพัฒนาค่ายลูกเสือ
จากการสอบถามในครั้งนี้
พบว่ามีผู้ดูแลรับผิดชอบค่ายลูกเสือที่หลากหลาย คือ
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา,
ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา,
ผู้บริหารโรงเรียน, รองผู้บริหารโรงเรียน, ผู้อำนวยการค่ายลูกเสือ,
นักวิชาการศึกษา แม้แต่ข้าราชการบำนาญ
จึงควรวางระบบในการให้บุคลากรที่มีความเหมาะสมในพื้นที่รับผิดชอบดูแลค่ายอย่างต่อเนื่อง -
การซ่อมแซมค่ายลูกเสือที่ชำรุดทรุดโทรม
ขอให้วางแผนการซ่อมแซมที่คิดใหญ่ มองการพัฒนาไปข้างหน้า อย่าวางแผนซ่อมแซมตามงบประมาณที่ได้รับเท่านั้น
รมว.ศึกษาธิการ
กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวให้ความสนใจในเรื่องกิจการลูกเสือเป็นอย่างมาก
และจากการรับฟังช่วงเวลาสั้นๆ ในครั้งนี้
ยิ่งทำให้ได้รับในสิ่งที่คิดว่าตัวเองต้องทำอะไรๆ
เพื่อกิจการลูกเสือให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
เพราะลูกเสือช่วยสร้างวินัยให้แก่คนในชาติ
ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีส่วนสนับสนุนกิจการลูกเสือมาโดยตลอด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้องค์การค้าของ สกสค.
ดำเนินการเรียกเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์เครื่องหมายลูกเสือ
ซึ่งสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
เพื่อให้สามารถนำเงินค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวมาปรับปรุงพัฒนาค่ายลูกเสือทั่วประเทศให้ได้รับการพัฒนามากขึ้นด้วย
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
: สรุป/รายงาน
ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 326/2559 การวางแผนพัฒนาค่ายลูกเสือทั่วประเทศ