ข้าราชการกู้ยืมเงิน “หากเพิกเฉยไม่ชำระหนี้” ถือว่าผิดวินัย – อาจถูกลงโทษภาคทัณฑ์ – ตัดเงินเดือน

7519

ข้าราชการกู้ยืมเงิน “หากเพิกเฉยไม่ชำระหนี้” ถือว่าผิดวินัย – อาจถูกลงโทษภาคทัณฑ์ – ตัดเงินเดือน

ข้าราชการกู้ยืมเงิน “หากเพิกเฉยไม่ชำระหนี้” ถือว่าผิดวินัย – อาจถูกลงโทษภาคทัณฑ์ – ตัดเงินเดือน นาย ก. ข้าราชการหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากนายเป็ง เป็นเงินจำนวน 5,000 บาท แล้วไม่ชำระหนี้ นายเป็งจึงนำเรื่องไปแจ้งต่อผู้บังคับบัญชา เมื่อผู้บังคับบัญชาทราบเรื่อง ได้สั่งให้ชำระหนี้ แต่ก็เพิกเฉย นายเป็งจึงไปแจ้งความดำเนินคดี ต่อมาพี่สาวได้นำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาชำระหนี้แทน

ข้าราชการกู้ยืมเงิน "หากเพิกเฉยไม่ชำระหนี้" ถือว่าผิดวินัย
ข้าราชการกู้ยืมเงิน “หากเพิกเฉยไม่ชำระหนี้” ถือว่าผิดวินัย

จากพฤติการณ์ของนาย ก. เป็นการกระทำความผิดวินัยตามมาตรา 81 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ฐานประพฤติชั่วอย่างไม่ร้ายแรง จึงถูกลงโทษภาคทัณฑ์

ความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างไม่ร้ายแรง ตามมาตรา 81 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 คือ ความผิดฐานไม่รักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย ตามมาตรา 82 (10) แห่วพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 โดยมีหลักเกณฑ์และองค์ประกอบในการพิจารณาว่าการกระทำใดจะถือเป็นความผิดฐานไม่รักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย ดังนี้

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ครม.เห็นชอบ ให้ข้าราชการลาคลอดได้ 188 วัน ส่วนข้าราชการชาย สามารถลาช่วยดูแลบุตรได้ 15 วัน

1. เกียรติของข้าราชการ พิจารณาโดยคำนึงถึงตำแหน่งหน้าที่ราชการของผู้กระทำ ประกอบกับพฤติการณ์ในการกระทำของข้าราชการผู้นั้นว่าเป็นการกระทำที่ผิดแบบธรรมเนียมของข้าราชการที่ดี ซึ่งบุคคลในฐานะและตำแหน่งเช่นนั้นควรประพฤติปฏิบัติเพียงใด หรือไม่ เป็นการกระทำที่อาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือไม่

2. ความรู้สึกของสังคม พิจารณาจากความรู้สึกของวิญญูชนโดยทั่วไปว่ามีความรังเกียจต่อการกระทำนั้น ๆ โดยรู้สึกว่าเป็นการประพฤติชั่วหรือไม่

3. เจตนา พิจารณาโดยคำนึงว่าผู้กระทำรู้สำนึกในการกระทำและประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นหรือไม่

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ครูไม่พานักเรียนไปทัศนศึกษาในวันหยุด : ต้องยื่นใบลาหรือไม่ ?

คดีเป็นอุทาหรณ์สำหรับข้าราชการที่ต้องรักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องรักษาเกียรติศักดิ์ ชื่อเสียงของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย การกระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย อาจถูกลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน และหากมีความร้ายแรงถึงขนาดทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการอย่างร้ายแรงก็จะเป็นความผิดฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ซึ่งอาจถูกลงโทษสถานหนักถึงปลดออกหรือไล่ออกจากราชการได้

ที่มา. การเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับข้อกำหนดวินัยข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการ (กจ.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น