
รอบรู้ตอบข้อสงสัย PLC กับ บทความทางวิชาการ เกี่ยวกับรูปแบบแนวทางการ PLC
บทคัดย่อ
วิชาชีพครู ถูกกำหนดเป็นวิชาชีพควบคุม หรือวิชาชีพชั้นสูง ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพครู จำเป็นต้องมีการพัฒนาวิชาชีพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อการธำรง
สถานะความเป็นวิชาชีพชั้นสูง ด้วยเหตุนี้ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จึงกลายมาเป็นเครื่องมือการพัฒนา
วิชาชีพที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนดในมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐาน
วิชาชีพ (ว20/60) หลักเกณฑ์และวิธีการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ (ว21/60) และหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (ว22/60) ถอดความข้างต้น สรุปได้ว่า “ความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)” ประกอบด้วยการจัดตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการ/กึ่งทางการ ในระดับสถานศึกษาหรือเครือข่ายหรือระดับชาติมีเป้าหมายเพื่อ
แก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กำหนดบทบาทของสมาชิกในชุมชนเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน กำหนดแนวทางการ
แก้ปัญหาร่วมกัน เลือกหลักวิชาการมาสังเคราะห์หรือประยุกต์เป็นเส้นทางการเรียนรู้ ปรึกษารับคำแนะนำจาก
ผู้เชี่ยวชาญจะภายใน/ภายนอก นำเส้นทางการเรียนรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนจริงกับผู้เรียน แลกเปลี่ยน
เสนอแนะ สะท้อนผลการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และถอดบทเรียนจากการปฏิบัติเป็นชุดความรู้ใหม่ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้
เรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา
โดย กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 7 ขั้นตอน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. 2559 : 32) กำหนด ดังนี้
ขั้น 1 รวมกลุ่ม PLC
ขั้น 2 ค้นหาปัญหา/ความต้องการ
ขั้น 3 ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา
ขั้น 4 แลกเปลี่ยนเสนอแนะ
ขั้น 5 น าไปสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน
ขั้น 6 สะท้อนผล
ขั้น 7 สรุปเป็นนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่ดี
ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม PLC ในระดับสถานศึกษา
ขั้น 1 ตั้งกลุ่ม ร่วมปณิธาน รวมกลุ่มที่มีปัญหา/ความต้องการเดียวกัน เช่น จัดกลุ่มครูที่มีลักษณะใกล้เคียง
กัน กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในระดับชั้นเดียวกัน กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในช่วงชั้นเดียวกัน
กลุ่มครูตามลักษณะงาน จำนวนสมาชิก 6-8 คน
ขั้น 2 ค้นหาปัญหา ความต้องการ กลุ่มร่วมกันเสนอปัญหา/ความต้องการ จัดกลุ่มปัญหา จัดลำดับความ
จำเป็นเร่งด่วน และเลือกปัญหา 1 ปัญหาจากการพิจารณาร่วมกัน
ขั้น 3 ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา เริ่มจากสมาชิกกลุ่มเล่าเรื่องเร้าพลัง/บอกเล่าประสบการณ์ที่แก้ได้สำเร็จ
ค้นหาตัวอย่าง/รูปแบบที่ประสบผลสำเร็จ/หาแหล่งวิชาการ/ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันตัดสินใจเลือกรูปแบบ/
วิธีการ/นวัตกรรม ในการแก้ปัญหา เขียนเป็นเส้นทางการเรียนรู้
ขั้น 4 ออกแบบเครื่องมือในการพัฒนางาน หรือแก้ปัญหาตามเส้นทางที่เขียนไว้ ในลักษณะกระบวนการ
แก้ปัญหา/กิจกรรม/นวัตกรรม ที่กลุ่มเลือก เขียนเป็นเค้าโครงนวัตกรรม หรือแนวทางการแก้ไขปัญหา
ขั้น 5 เขียนแผนจัดกิจกรรมหรือแผนการสอน/วิพากษ์ สะท้อนคิดแผนจัดกิจกรรมหรือแผนการสอน/
น าเสนอกิจกรรมการแก้ปัญหา ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ให้ข้อเสนอแนะ/สรุป สังเคราะห์ผลการวิพากษ์
สะท้อนคิดและปรับปรุงแผน ฉบับใหม่
ขั้น 6 นำสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน น าแผนการจัดกิจกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหา/ ปฏิบัติการสอน/จัด
กิจกรรม ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การเยี่ยมชั้นเรียน สังเกตการสอน
และประชุมสะท้อนคิดต่อการสังเกตชั้นเรียน
ขั้น 7 ถอดบทเรียนความรู้จากการปฏิบัติ (AAR) สังเคราะห์การเรียนรู้ร่วมกันจากสมาชิกในทีม จุดอ่อน
จุดเด่นของการด าเนินการ สรุป กระบวนการที่แก้ปัญหา รูปแบบที่ปรับปรุงจากบทเรียนที่ได้ทดลองใช้แล้ว และนำส่ง
ต่อไปปฏิบัติการในรอบใหม่ต่อไป
ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณ ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคำไฮน้อย อ.เหล่าเสือโก้ก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ที่ได้เผยแพร่บทความทางวิชาการ เรื่อง การพัฒนาวิชาชีพครูในรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นวัตกรรมการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาเพื่อธำรง สถานะความเป็นวิชาชีพชั้นสูง ในครั้งนี้นะคะ