Advertisement
เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการดำเนินการ จัดประชุมชี้แจงคู่มือการจัดทำแผนชั้นเรียนและ ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี แผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี docและถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ในวันที่ 26 ก.ค. 2565 เวลา 13.30 น. เพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้นจึงขอนำข้อมูลแผนชั้นเรียนมานำเสนอดังนี้
Advertisement
ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป มีรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี doc ดังนี้
แผนชั้นเรียนแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. แผนชั้นเรียนเต็มรูป เป็นแผนที่แสดงถึงจํานวนห้องเรียนรวมสูงสุดของสถานศึกษา
ที่กําหนดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดประสิทธิผล ซึ่งกรอบระยะเวลาของการจัดทําแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569)
อิงตามกรอบระยะเวลาการดําเนินงานของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2575 ในช่วง 5 ปีที่สอง
(พ.ศ. 2565 – 2569)
2. แผนชั้นเรียนรายปี เป็นแผนที่กําหนดว่าสถานศึกษาใดจะเปิดรับนักเรียนชั้นใด กี่ห้องเรียน ในแต่ละปีการศึกษา โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องราวที่น่าสนใจ : ระบบ DPA ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล พร้อมให้ครูใช้งาน 1 ตุลาคม 2565 และทดลองใช้งาน กลางเดือน กันยายน 2565 ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA อัพเดตที่นี่!
ความสําคัญของการจัดทําแผนชั้นเรียน แผนชั้นเรียนเต็มรูปและแผนชั้นเรียนรายปีมีความสําคัญต่อการวางแผนพัฒนาการศึกษาและการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้
Advertisement
1. แผนชั้นเรียนเต็มรูป
1.1. ใช้เป็นแนวทางในการกําหนดแผนชั้นเรียนรายปี โดยในการจัดทําแผนชั้นเรียนรายปี จะกําหนดเป้าหมายการรับนักเรียนให้พอเหมาะกับจํานวนนักเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีนั้นแต่ไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป
1.2 ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดหาที่เรียนเพิ่ม โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเป็นตัวกําหนดว่า ในพื้นที่บริการของสถานศึกษาสามารถให้บริการกับนักเรียนตัวป้อนได้ทั้งหมดหรือไม่ ถ้ามีนักเรียนเกินจากที่สถานศึกษาจะสามารถรับไว้ได้ สามารถวางแผนหาวิธีการให้นักเรียนได้มีที่เรียน
1.3 ใช้เป็นข้อมูลสําหรับการขอขยายชั้นเรียน และการเลิกขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.4 ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนสําหรับอาคารเรียนอาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น โดยการกําหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะทําให้ทราบว่าสถานศึกษาควรจะมีอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น จํานวนเท่าใด
1.5 ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบเงินอุดหนุนรายหัว
1.6 ใช้เป็นหลักในการวางผังบริเวณสถานศึกษา โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะช่วยให้การจัดวางผังบริเวณมีความเหมาะสมกับพื้นที่ของสถานศึกษา
2. แผนชั้นเรียนรายปี
2.1 ใช้กําหนดเป้าหมายจํานวนนักเรียนรายปีในเขตพื้นที่บริการที่คาดว่าจะมาเรียนต่อระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.2 ใช้เป็นแผนในการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาของสถานศึกษาว่า จะเปิดรับนักเรียนชั้นใด กี่ห้องเรียน และจํานวนนักเรียนเท่าใด
2.3 ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณ อาทิ ใช้ในการจัดทําคําขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบเงินอุดหนุนรายหัว ที่มีการวิเคราะห์จากข้อมูลการคาดคะเนจํานวนนักเรียนและใช้เป็นกรอบในการพิจารณาวงเงินงบประมาณ งบลงทุน
ลิงก์ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา : classroomplan.bopp-obec.info
ลงทะเบียนเจ้าหน้าที่ ระดับสถานศึกษา : https://classroomplan.bopp-obec.info/register.php
ลงทะเบียนผู้รับผิดชอบ ระดับ สพท. : https://classroomplan.bopp-obec.info/register2.php
คู่มือระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา : ดาวน์โหลดคู่มือที่นี่
หลักเกณฑ์การจัดทําแผนชั้นเรียน
การจัดทําแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569) และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 กําหนดให้รัฐต้อง
ดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 กําหนดให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับต้องเรียนครบทุกคน โดยสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และจัดสรรโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียน
2. เกณฑ์การกําหนดจํานวนนักเรียนต่อห้อง
ชั้นก่อนประถมศึกษา ห้องละไม่เกิน 30 คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ห้องละไม่เกิน 40 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องละไม่เกิน 40 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องละไม่เกิน 40 คน
โดยการคิดจํานวนห้องเรียน กรณีจํานวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียน มีเศษตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปให้คิดเพิ่มอีก 1 ห้อง
ทั้งนี้ ในการกําหนดจํานวนนักเรียนต่อห้อง ให้คํานึงถึงปัจจัยที่จะทําให้จํานวนนักเรียนเพิ่มหรือลดลงดังนี้
1) อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง
2) จํานวนนักเรียนต่อห้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในแต่ละปีการศึกษา
3) การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) หรือโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ
4) การขยายตัวของชุมชน
5) การเคลื่อนย้ายแรงงาน
6) สถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
7) การแบ่งกลุ่มสถานศึกษาตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8) การแบ่งเขตพื้นที่บริการที่อาจมีการทับซ้อนกับสถานศึกษาอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน
9) เป้าหมายในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบาย THAILAND 4.0
10) สถิติการรับนักเรียนย้อนหลัง 3 – 5 ปีการศึกษา
ลิงก์ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา : classroomplan.bopp-obec.info
ลงทะเบียนเจ้าหน้าที่ ระดับสถานศึกษา : https://classroomplan.bopp-obec.info/register.php
ลงทะเบียนผู้รับผิดชอบ ระดับ สพท. : https://classroomplan.bopp-obec.info/register2.php
คู่มือระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา : ดาวน์โหลดคู่มือที่นี่
พบเห็นไฟล์หรือเนื้อหาที่ไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดได้ หรือไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งเราได้ที่ :