สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ

1547
สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ   ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ
สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ

สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ ผ่าน สมศ.แบบก้าวกระโดด

สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ   ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ
สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ

ผู้ปกครองหลายคนคาดหวังให้ลูกเรียนเก่ง แต่รู้หรือไม่ว่าพัฒนาการ และศักยภาพของเด็กจะต้องถูกกระตุ้นอย่างเหมาะสมกับสมรรถนะทางร่างกาย เพราะหากร่างกายถูกพัฒนาอย่างสมวัยก็จะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพในด้านอื่นๆ และแน่นอนว่าพัฒนาการที่ดีของเด็กเริ่มต้นขึ้นได้ตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้าโรงเรียน โดยเฉพาะเด็กอายุตั้งแต่ 2-3 ขวบซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมกับช่วงวัย

แต่อย่างไรก็ตามการมุ่งเน้นสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ในช่วงปฐมวัยอาจจะไม่ใช้คำตอบในการพัฒนาเด็กให้กลายเป็นคนเก่งตั้งแต่อยู่ในช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นเรียนรู้ และอาจจะไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมกับเด็กเล็กทุก ๆ คน      และเพื่อไขคำตอบว่าการเรียนแบบเด็กเล็กต้องทำอย่างไร

วันนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานแลประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. จะพาไปรู้จักกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิวราราม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตัวอย่างในจังหวัดอุดรธานี  ที่ให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะพัฒนาการเด็กปฐมวัยค่อย ๆ สะสมความรู้จนเกิดเป็นทักษะสำคัญเพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และยังนำโมเดลที่เรียกว่า BBL (Brain-based Learning) จากข้อเสนอแนะของ สมศ. มาช่วยสั่งสมประสบการณ์และพัฒนาการในตัวเด็ก โดยโมเดลนี้เป็นรูปแบบการพัฒนาที่ทำให้เด็กหลายคนก้าวสู่ความเป็นอัจฉริยะอีกด้วย

นางสายหยุด น้อยชื่น หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิวราราม จ.อุดรธานี เล่าว่า สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิวรารามเปิดรับเด็กตั้งแต่ช่วงอายุ 2 ขวบครึ่ง ถึง 3 ขวบ 11 เดือน โดยการเรียนการสอนภายในศูนย์จะมีการแบ่งห้องเรียนออกเป็น 3 ห้องตามเกณฑ์อายุ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะสมกับช่วงวัย ที่ผ่านมาทางศูนย์ได้นำเอาผลการประเมินภายนอกมาปรับใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะด้านการสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็ก ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ BBL เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองในเด็กแต่ละคน แต่ละช่วงวัย โดยการกระตุ้นสิ่งที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ เนื่องจากทางศูนย์เห็นว่าเด็กในช่วงวัยนี้แต่ละคนมีความสนใจที่แตกต่างกัน

สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ   ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ
สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ

“สำหรับกิจกรรมที่ศูนย์ฯ จัดให้แก่เด็กเล็กที่เข้ามาเรียนนั้นค่อนข้างมีกิจกรรมที่หลากหลาย แต่ละกิจกรรมจะเน้นการสร้างประสบการณ์ผ่านสิ่งใกล้ตัวเด็ก โดยการให้เด็กออกมาเล่าสั้น ๆ ว่าเมื่อเช้าก่อนมาโรงเรียนพวกเขาทำอะไรบ้าง เจออะไรที่กระตุ้นให้พวกเขารู้สึกสนใจ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้เด็กกล้าแสดงออก และยังเป็นการร่วมแชร์ประสบการณ์ให้กับเพื่อน ๆ ในห้องเรียน โดยยังมีการจัดกิจกรรมสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากสิ่งของ โดยทางศูนย์จะใช้ของจริงทั้งหมด เช่นการสอนให้เด็กรู้จักผลไม้ผ่านผลไม้จริง ๆ ก่อนที่จะให้เด็กเรียนรู้ผ่านคลิปวิดีโอ  รวมไปถึงการสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้เรียน ผ่านการให้เด็กได้ลองเลือกทำกิจกรรมที่พวกเขาสนใจ อาทิ กิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ เกมเกี่ยวกับการศึกษา  และกิจกรรมเสรี โดยทางศูนย์จะจัดห้องไว้สำหรับทำกิจกรรมเสรี ซึ่งภายในห้องจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย โดยให้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงสำหรับการเล่นหรือทำกิจกรรมที่เด็กเป็นคนเลือก เพื่อให้เด็กได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น 1.มุมดนตรี โดยทางศูนย์จะเตรียมเครื่องดนตรีสำหรับเด็ก โดยมุมนี้จะทำให้เด็กมีสมาธิและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำมากยิ่งขึ้น เมื่อเด็กมีสมาธิก็จะส่งต่อการเรียนรู้ในชั่วโมงต่อไป   2.มุมหนังสือนิทาน โดยมุมนี้จะมีครูพี่เลี้ยงเป็นผู้เล่านิทานให้เด็ก ๆ ฟัง เพื่อสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็กโดยนิทานส่วนใหญ่จะเป็นนิทานอีสป ซึ่งตอนสุดท้ายจะมีคติสอนใจสอดแทรกอยู่ โดยกิจกรรมนี้นอกจะทำให้พลินเพลินกับเนื้อเรื่องในนิทานแล้วยังทำให้เด็กรู้ ผิด ชอบ ชั่ว ดี ผ่านการเล่านิทาน กิจกรรมเสรียังเป็นการทดสอบความสนใจเบื้องต้นในตัวเด็กอีกด้วย 

โดยศูนย์ ฯ ได้มีการฝึกสมรรถนะทางร่างกาย ผ่านกิจกรรมเดินตามรอยยางลบ ทางครูผู้สอนจะแบ่งยางลบออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้เด็กเดินตามจุดที่ครูวางไว้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และสร้างสมาธิได้อย่างดี อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ศูนย์ได้เริ่มพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กผ่านการสอนแบบ BBL ไปแล้วพบว่า พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เด็กเข้าใจและสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ต่อยอดสู่การทำแบบฝึกหัด วาดภาพ ระบายสี ได้จริง อีกทั้งยังส่งผลให้ผลการประเมินภายนอกของรอบที่ผ่านมาได้รับการประเมินด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ในระดับดีเยี่ยม นอกจากพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์แล้ว พัฒนาการด้านจิตใจก็คือว่าเป็นเรื่องที่เด็กควรจะได้รับการดูแลอย่างชิด ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิวรารามจึงได้ให้ครูทุกคนคอยเอาใจใส่เด็กๆ และปฏิบัติกับเด็กเหมือนคนในครอบครัวเพื่อสร้างความอบอุ่น สร้างให้เด็กเกิดพฤติกรรมการอยากมาโรงเรียน แนวทางดังกล่าวจะส่งผลดีต่อเด็กในช่วงที่เด็กต้องศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ” นางสายหยุด กล่าวสรุป    

สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ   ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ
สมศ. เปิดภาพต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของรัฐ ครูอบอุ่น เสริมไอเดีย พัฒนาอัจฉริยภาพ

ด้านนายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุดรธานี กล่าวว่า เทศบาลให้ความสำคัญในการนำผลการประเมินการจาก สมศ.ไปใช้สำหรับการพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากผู้ประเมินลงพื้นเสร็จเรียบร้อย ทางเทศบาลจะหารือร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ เพื่อนำข้อเสนอแนะที่ได้มาทำการวิเคราะห์ร่วมกัน และแบ่งงานกันว่าครูแต่ละท่านจะเป็นผู้รับผิดชอบด้านใด โดยวิธีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจนจะทำให้ครูมีเป้าหมายในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ได้นำข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินมาปรับใช้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิวรารามพบว่า มาตรฐานการเรียนรู้ ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเล็กเพิ่มขึ้นมากกว่า 90%  โดยเทศบาลได้ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเตรียมความพร้อมสำหรับเข้ารับการประเมินตลอดเวลา โดยการพัฒนาหลักสูตร การสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก ด้วยการพัฒนาจากสิ่งเดิมที่เคยทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวว่า สำหรับการประเมินในรอบที่ผ่าน ๆ มา สมศ. ได้เน้นการส่งเสริมให้สถานศึกษานำผลการประเมินไปปรับใช้ในการพัฒนาศักยภาพสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน มาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การประเมินคุณภาพภายนอกรูปแบบใหม่นี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระงานให้แก่สถานศึกษา และการส่งเสริมให้สถานศึกษานำผลการประเมินภายนอกไปใช้ยังเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญเช่นกัน เนื่องจากมีสถานศึกษาหลายแห่งที่เข้ารับการประเมินและนำข้อเสนอแนะไปปรับใช้ ผลลัพธ์ที่ออกมาค่อนข้างดี โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่เกิดกับตัวผู้เรียน ดังนั้นในการประเมินภายนอกรูปแบบใหม่ที่จะเริ่มประเมินในเดือนธันวาคม 2563 นี้ สมศ. คาดว่าจะได้รับการตอบรับจากสถานศึกษาทั่วประเทศ และภายหลังการประเมินคุณภาพภายนอกแล้ว สถานศึกษาและต้นสังกัดจะนำผลการประเมินของ สมศ. มาปรับใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างเต็มความสามารถ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 0-2216-3955 หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณ สมศ. เป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลข่าวค่ะ

พบเห็นไฟล์หรือเนื้อหาที่ไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดได้ หรือไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งเราได้ที่ : https://www.facebook.com/krooupdatedotcom/