
สรุปรายงานการประชุม รับฟังนโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 9 มิถุนายน 2564
สรุปประเด็นการประชุม
จากการเข้าร่วมรับฟังการประชุม เรื่อง ประชุมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 2/2564
สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาได้ดังนี้
ที่เผยแพร่
การนับเวลาเรียน
เปิด 1 มิ.ย. – 10 ต.ค.2564ชดเชย 10 วัน
เปิด 14 มิ.ย. – 10 ต.ค.2564ชดเชย 18 วัน
การสอนชดเชย
1. จัดการเรียนการสอนแบบ On Site
– เพิ่มจำนวนเวลาเรียนในแต่ละวันให้ครบตามโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด
– เพิ่มการเรียนในวันหยุดให้ครบตามโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด
2. จัดการเรียนการสอนแบบ Online/On-air/On-demand/On-hand
– กำหนดตารางสอน เพื่อนับชั่วโมงเรียน ให้ครบตามโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด
3. จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เช่น On-site กับ Online หรือ On-site กับ On-air กำหนดตารางสอน เพื่อนับ
ชั่วโมงเรียนให้ครบตามโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด
เกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำ ปพ.1 ทำให้มีการยกเลิก ปพ.1 จำนวนมาก ให้สถานศึกษาตรวจสอบแนวปฏิบัติและโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดทำ ปพ.1 ให้มีความถูกต้อง ชัดเจน ผู้บริหารทุกระดับ ต้องมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม
ความจำเป็น การจัดทำและจัดเก็บแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.3) ออนไลน์
1. สถานศึกษาบางแห่งไม่ดำเนินการตามระเบียบฯ และแนวปฏิบัติ รวมถึงกรอกข้อมูลไม่ถูกต้องตามรูปแบบ
2. การจัดส่งเอกสารหลักฐานการจบฯ ล่าช้า และเมื่อ สพฐ. ทักท้วง ก็ไม่เร่งดำเนินการ
3. สถานศึกษาเปลี่ยนแปลงบุคลากรผู้รับผิดชอบบ่อย
4. ระบบการจัดทำ ปพ.3 ที่สถานศึกษาใช้มีหลากหลายระบบ แต่ยังไม่สามารถนำมาหลอมรวมจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลเดียวกันได้
5. เอกสารมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ไม่สามารถทำลายได้ แต่พื้นที่ในการจัดเก็บจำกัด ทำให้ยากในการสืบค้น และรักษาเอกสารสำคัญ
1. อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของการจัดทำข้อมูลและรูปแบบการจัดทำแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษาให้เป็นไปตามประกาศ และแนวปฏิบัติที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
2. ข้อมูลที่จัดทำจะมีความถูกต้องและถูกจัดเก็บเข้าคลังในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล และไฟล์สแกนภาพ pdf ซึ่งเป็นการเอื้ออำนวยต่อการสืบค้นในการบริการตรวจสอบวุฒิการศึกษา และออกเอกสารสำคัญทางการศึกษาแก่หน่วยงานหรือองค์การ
3. เพิ่มระบบความปลอดภัยป้องกันความสูญหายของเอกสารสำคัญทางการศึกษา รองรับการเชื่อมโยงการตรวจสอบและจัดเก็บแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูล สามารถบูรณาการข้อมูลสารสนเทศผู้สำเร็จการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Data)
กิจกรรมที่ 1 สพท. ขยายผลและฝึกปฏิบัติการใช้ระบบให้แก่สถานศึกษา (1 – 30 มิ.ย. 64)
กิจกรรมที่ 2 สถานศึกษานำไฟล์ excel ที่บันทึกข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จริง
เข้าสู่ระบบ (1-9 ก.ค. 64)
กิจกรรมที่ 3 สพท. ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลของสถานศึกษา ในสังกัด สพฐ. (9 – 23 ก.ค. 64)
กิจกรรมที่ 4 สพฐ. ตรวจสอบและรับรองข้อมูล excel ที่ผ่านการรับรองของ สพท. (23 – 31 ก.ค. 64)
กิจกรรมที่ 5 สถานศึกษา พิมพ์ ปพ.3 จากระบบ เสนอผู้มีอำนาจตามคำสั่ง ลงนาม และสแกน ปพ.3
ที่ลงนามเรียบร้อย เป็น pdf จัดส่งเข้าระบบเพื่อจัดเก็บ (23 – 31 ก.ค. 64)
1. สพฐ. จัดสรรงบประมาณรายการค่าพาหนะนักเรียน สำหรับนักเรียนเดินทางมาเรียนรวม
และเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น
2. จัดสรรให้นักเรียนทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในจุดบริการ และนักเรียนที่เดินทาง
มาเรียนที่โรงเรียนหลักตามประกาศทุกชั้นปีจนจบการศึกษาภาคบังคับ
3. จัดสรรให้นักเรียนนักเรียนที่เข้าเรียนใหม่ในปีการศึกษาต่อไป ที่มีอายุเข้าเกณฑ์การศึกษา
ภาคบังคับและมีชื่อในทะเบียนบ้านของเขตบริการ จนจบการศึกษาขั้นสูงสุดของโรงเรียนหลัก
4. จัดสรรตามระยะทางต่อคนต่อวัน แบ่งเป็น 0-3 กม. 10 บาท, 3.1-10 กม. 15 บาท, 10.01 กม.
ขึ้นไป 20 บาท
5. งบประมาณตามระยะทางที่เหลือให้รายงาน สพฐ. และสงวนไว้เป็นค่าพาหนะเท่านั้น ส่วนค่าบริหาร
จัดการรถ เมื่อหมดปีงบประมาณเขตยังดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณแล้วเหลือจ่าย ต้องรายงานและส่งคืน สพฐ.
6. การดำเนินการอื่นใด เช่น กรณีจ้างเหมาบริการ สำหรับกรณีรวมเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ต้องเขียนโครงการและส่ง TOR ให้ สพฐ. เพื่อพิจารณาถึงเหตุผล – ความจำเป็น
(ณ ปัจจุบัน สืบค้น TOR และตัวโครงการไม่พบ ตรวจพบว่ามีกรณีรายชื่อนักเรียนทับซ้อนกัน
ทำให้เกิดการเบิกจ่ายซ้ำซ้อน จึงจำเป็นต้องทำการสำรวจโดยละเอียด)
3. แนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียน
1. เปิดทำการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1/2564 ในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 โดยจัดการเรียนการสอนแบบปกติที่โรงเรียน เรียนกับครูต่อหน้า เน้นปฏิสัมพันธ์ (On-Site) และสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
2. ระมัดระวังการเกิดคลัสเตอร์โรงเรียน เน้นความปลอดภัยของนักเรียน คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง โดยการให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย ตรวจอุณหภูมิ เว้นระยะห่างทางสังคม ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสอย่างสม่ำเสมอ ยกเลิกกิจกรรมการรวมกลุ่ม ควบคุมการเข้าออกโรงเรียนของบุคคลภายนอก
3. จัดการเรียนการสอน ชดเชย 18 วัน (เนื่องจาก เปิด 14 มิ.ย. – 10 ต.ค.2564) โดยใช้วิธีการเพิ่มชั่วโมงเรียนในคาบสุดท้ายของแต่ละวัน วันละ 1 ชั่วโมง (5 ชั่วโมง เท่ากับเวลาเรียน 1 วัน)
4. อาหารเสริม (นม) ให้ผู้ปกครองมารับที่โรงเรียน โดยจำนวนนมที่ได้รับ ย้อนให้ตั้งแต่วันเปิดภาคเรียนแรก (ระหว่าง 1 – 14 มิถุนายน 2564)
5. จัดอาหารกลางวันตามปกติ โดยปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค
6. ตรวจสอบและเตรียมความพร้อม สื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้เพียงพอและเหมาะสม
ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่
สรุปรายงานการประชุมรับฟังนโยบายรัฐมนตรี9มิย64