อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร เตรียมความพร้อมสำหรับการเมืองระดับท้องถิ่น จากสถาบันพระปกเกล้า

4237

สวัสดีค่ะคุณครูทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีหลักสูตร อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร เตรียมความพร้อมสำหรับการเมืองระดับท้องถิ่น จากสถาบันพระปกเกล้า มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ

โดยวิธีการเข้าสมัครลงทะเบียนอบรม คุณครูสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลยค่ะ
เข้าอบรมที่เว็บไซต์ http://kpielearning.com/site/index

เข้าอบรม/เรียนออนไลน์

 

เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์แล้ว ขั้นตอนแรก ให้คุณครูเลือกที่ ลงทะเบียน ดังภาพ

อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร ค่านิยมพิ้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า
อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร ค่านิยมพิ้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า

จากนั้นระบบจะปรากฏหน้าคำชี้แจง อ่านคำชี้แจง และ กดที่ยอมรับได้เลยค่ะ

 

อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร ค่านิยมพิ้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า
อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร ค่านิยมพิ้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า

 

จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวและกดสมัครสมาชิกค่ะ

อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร ค่านิยมพิ้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า
อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร ค่านิยมพิ้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า

 

จากนั้นเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยสามารถเลือกที่ หลักสูตร อบรมออนไลน์ เรียนออนไลน์ มีเกียรติบัตร หลักสูตร เตรียมความพร้อมสำหรับการเมืองระดับท้องถิ่น จากสถาบันพระปกเกล้าและกดที่ เริ่มเรียน  (ปุ่มสีเขียวด้านขวามือ ) ได้เลยค่ะ

หลักการและเหตุผล

แนวโน้มการพัฒนาประเทศในอนาคตมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับฐานรากการพัฒนาในระดับพื้นที่ และการจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเผชิญกับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด รวมทั้งต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและท้าทายใหม่ๆ ทั้งสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ ประชาคมอาเซียน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และสถานการณ์ทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการบริหารงานทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น

ในส่วนของ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานในลักษณะประชาธิปไตยท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับประชาชนและพื้นที่ เข้าใจแนวคิดและหลักการของการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในสังคมไทย รวมถึงต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งที่การพัฒนาท้องถิ่นและประโยชน์สุขของประชาชนในระยะยาว

สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะสถาบันทางวิชาการ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานรัฐสภา มีพันธกิจสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปสู่สาธารณชน ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้อยู่ในแวดวงต่างๆ ในชุมชนท้องถิ่น ที่จะก้าวเข้าสู่เวทีทางการเมืองท้องถิ่นในอนาคต ว่าจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ในฐานะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับการพัฒนาระบบ e-Learning เพื่อรองรับการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน สถาบันพระปกเกล้า จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning ในหลักสูตร เตรียมความพร้อมสำหรับการเมืองระดับท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้อยู่ในแวดวงต่างๆ ในชุมชนท้องถิ่น ที่จะก้าวเข้าสู่เวทีทางการเมืองท้องถิ่นในอนาคต ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมทั้งความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติค่านิยมที่จำเป็น สำหรับการจะก้าวเข้าสู่การเป็นนักการเมืองระดับท้องถิ่น ในฐานะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในประเด็นความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับบุคคลที่สนใจเข้าสู่แวดวงการเมืองระดับท้องถิ่น ในฐานะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. เพื่อเป็นการประเมินความรู้ ความสามารถเบื้องต้น สำหรับบุคคลที่สนใจเข้าสู่แวดวงการเมืองระดับท้องถิ่น ในฐานะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าอยู่ในระดับใด และต้องพัฒนาหรือเรียนรู้เพิ่มเติมในประเด็นใดบ้าง
  3. เพื่อเป็นการพัฒนาบุคคลที่สนใจเข้าสู่แวดวงการเมืองระดับท้องถิ่น ในฐานะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีทัศนคติและค่านิยมที่เอื้อต่อการบริหารงานท้องถิ่น และการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยท้องถิ่น

โครงสร้างหลักสูตร

ประกอบด้วย 5 กลุ่มวิชา ดังนี้

  1. ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน ตระหนักถึงวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยท้องถิ่น ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การบริหารงานท้องถิ่นจำเป็นต้องให้ประชาชนได้ร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตรวจสอบการดำเนินงานต่างๆ ดังนั้น ผู้เรียนควรทราบถึงแนวคิดหลักการที่เกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัดของแนวคิดประชาธิปไตยในความเป็นจริง ตลอดจนมีความเข้าใจในการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

  • ประชาธิปไตยท้องถิ่น : ความหมาย คุณค่า และความสำคัญ
  • การปกครองท้องถิ่นกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น
  • ประชาธิปไตยท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชน : กฎหมายและกลไกที่เกี่ยวข้อง
  • แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมประชาธิปไตยท้องถิ่นผ่านกรณีศึกษา

 

  1. ชุดวิชา การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในแนวคิดและหลักการของการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น ได้ทราบถึงจุดมุ่งหมายของการกระจายอำนาจและผลที่ประชาชนจะได้รับจากการปกครองท้องถิ่น รวมถึงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจ และการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมิติต่างๆ ว่ามีปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นประเด็นภารกิจ งบประมาณ บุคลากร อย่างไร ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

  • ความหมายของกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น
  • ประโยชน์และข้อจำกัดของการกระจายอำนาจ
  • โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของการปกครองท้องถิ่น
  • แนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการกระจายอำนาจหรือการยกระดับขีดความสามารถของการปกครองท้องถิ่น

 

  1. ชุดวิชา กฎหมายเบื้องต้นสำหรับผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบริหารงาน ซึ่งจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องบัญญัติไว้ถึงขอบเขตความรับผิดชอบ ตลอดจนคุณสมบัติ เงื่อนไข และข้อพึงระวังต่างๆ สำหรับการดำรงตำแหน่งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผู้จะเข้าสู่แวดวงการเมืองระดับท้องถิ่นจำเป็นต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

  • เงินเดือน ค่าตอบแทน การลาและสิทธิประโยชน์
  • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
  • การพ้นจากตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
  • การยื่นบัญชีทรัพย์สินของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
  1. ชุดวิชา ทิศทางและความท้าทายของบริบทท้องถิ่นไทย

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเผชิญอยู่ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ถือได้ว่าเป็นความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันและมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งโดยตรงและอ้อม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรู้เท่าทันสถานการณ์ และเตรียมการรองรับเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบเชิงลบให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกันสามารถสร้างโอกาสแก่ท้องถิ่นและประชาชนในอนาคตด้วย ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

  • การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
  • Thailand 4.0 กับผลกระทบของ Disruptive Technology
  • การบริหารราชการท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • บริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่าง กับทิศทางการพัฒนาพื้นที่ที่แตกต่างกันตามสภาพสังคม

 

  1. ชุดวิชา มีค่านิยมและทัศนคติที่เอื้อต่อสังคมประชาธิปไตย

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน เข้าใจถึงค่านิยมและทัศนคติที่เอื้อต่อสังคมประชาธิปไตย ว่าประเด็นใดเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาและประเด็นใดเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา หรือ สิ่งใดดีและสิ่งใดไม่ดี อันจะเป็นการช่วยกำหนดบรรทัดฐานและถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดีและมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

  • ค่านิยมและทัศนคติ เรื่อง ความมีวินัย
  • ค่านิยมและทัศนคติ เรื่อง ความซื่อสัตย์
  • ค่านิยมและทัศนคติ เรื่อง ความมีเหตุผล
  • ค่านิยมและทัศนคติ เรื่อง ความรับผิดชอบ
  • ค่านิยมและทัศนคติ เรื่อง จิตสาธารณะ

ครูอัพเดตดอทคอม หวังว่า บทความนี้จะเป็นโยชน์กับคุณครูและขอขอบคุณ สถาบันพระปกเกล้า สำหรับ ระบบเรียนออนไลน์เป็นอย่างสูงค่ะ