เช็กเลย !!! ประกันชีวิต แบบใด ลดหย่อนภาษี ได้ และได้เท่าไหร่ ?
สวัสดีครับ ครูอัพเดตดอทคอม ทีเรื่องราวดีๆที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการ ลดหย่อนภาษี มาฝากทุกท่านครับ โดยในครั้งนี้
เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ การลดหย่อน เบี้ยประกันชีวิต ครับ ทางแอดมิน ได้ค้นคว้าและนำมาเรียบเรียง ให้เข้าใจง่าย ดังนี้ครับ

1.ประกันชีวิตทั่วไป /เงินฝากแบบมีประกันชีวิต /ประกันสุุขภาพตนเอง
คือ การทำประกันชีวิต /ประกันสุขภาพตนเอง ที่คุณครูทำให้กับตนเอง โดยระบุบุคคลในครอบครัว เป็นผู้รับผลประโยชน์ รวมถึง การฝากออมเงินแบบมีประกันชีวิต ด้วย
1.1 สิทธิ์ ลดหย่อนภาษี
อัตราค่าลดหย่อนภาษี กำหนดให้คุณครูที่ทำ ประกันชีวิตทั่วไป(ตามจ่ายจริง) /เงินฝากแบบมีประกันชีวิต /ประกันสุุขภาพ (ลดหย่อนได้ 15,000 บ.) ให้ตนเอง สามารถลดหย่อนภาษีได้ แต่เมื่อรวมกันแล้ว ไม่เกิน 100,000 บาท
1.2 เงื่อนไขในการขอลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตทั่วไป /เงินฝากแบบมีประกันชีวิต /ประกันสุุขภาพตนเอง
– กรมธรรม์ประกัน คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป (ประกันชีวิตทั่วไป)
– ทำประกันกับบริษัทประกันในประเทศไทย (ประกันชีวิตทั่วไป)
– ถ้ามีปันผลต้องได้รับเงินคืนไม่เกิน 20 % ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี (ประกันชีวิตทั่วไป)
– เป็นประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ สูญเสียอวัยวะ การแตกหักของกระดูก (ประกันสุขภาพ)
– เป็นการประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ประกันสุขภาพ)
– เป็นการประกันที่ดูแลระยะยาว (ประกันสุขภาพ)
หมายเหตุ ประกันสุขภาพ ต้องแจ้งบริษัทประกันไว้ก่อนด้วยว่าจะนำไปลดหย่อนภาษีประจำปี
2.ประกันสุขภาพบิดามารดาตนเอง
คือ เป็นเบี้ยประกันที่คุณครู ทำประกันชีวิตให้กับบิดามารดา ของตนเอง สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ในหนึ่งปีภาษี
2.2 สิทธิ์ ลดหย่อนภาษี
อัตราค่าลดหย่อนภาษี กำหนดให้คุณครูที่ทำ ประกันสุขภาพบิดาและมารดาตนเองรวมกัน สามารถลดหย่อนภาษีได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ในหนึ่งปีภาษี แต่ต้องหารด้วยจำนวนบุตร เช่น คุณครูมีพี่น้อง 2 คน ก็เท่ากับว่า สิทธิ์ลดหย่อน ประกันสุขภาพบิดาและมารดา เป็น 15,000/2= 7,500 บาท
2.3 เงื่อนไขในการขอลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพบิดาและมารดา
– เป็นลูกแท้ๆ ของบิดามารดา
– บิดาและมารดา มีรายได้ทั้งปีภาษี ไม่เกิน 30,000 บาท
– คุณครูเอง หรือบิดา หรือมารดา อยู่ในประเทศไทย ครบ 180 วัน ในปีภาษี (ข้อนี้ผ่านแน่นอนครับ)
หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับคุณครูทุกท่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ
เรียบเรียงโดย ครูอัพเดตดอทคอม
อ้างอิง
1.ประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315)
2.กรมสรรพากร