วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกมุมคุณครูการจัดรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมและพัฒนา ทักษะทางอาชีพ ในหลักสูตรสถานศึกษา

การจัดรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมและพัฒนา ทักษะทางอาชีพ ในหลักสูตรสถานศึกษา

Advertisement

 

การจัดรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมและพัฒนา ทักษะทางอาชีพ ในหลักสูตรสถานศึกษา

รายวิชาเพิ่มเติม เป็นรายวิชาที่สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถเปิดสอนเพิ่มเติมจากสิ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง ฯ เพื่อให้สอดคล้องกับจุดเน้น ความต้องการและความถนัดของผู้เรียน หรือความต้องการของท้องถิ่น โดยกำหนด “ผลการเรียนรู้” เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาเพิ่มเติมต่างๆ

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด ความสนใจ ความสามารถของตนเอง เรียกว่า ขั้นสำรวจความถนัด (Career Exploration) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ลักษณะต่างๆ ของอาชีพ และค้นพบความต้องการของตัวเองเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกอาชีพที่เหมาะสม การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ฝึกทักษะ และเตรียมคุณลักษณะที่จำเป็นของอาชีพต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและสามารถตัดสินใจ วางแผนเพื่อศึกษาต่อหรือออกไปประกอบอาชีพใดต่อไปในอนาคต

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Advertisement

การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพ (Career Preparation) หรือศึกษาต่อ ในสาขาวิชาชีพที่ตนถนัด สถานศึกษาควรจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อวางพื้นฐาน ความรู้และทักษะทางอาชีพเฉพาะทางมากขึ้น โดยอาจจัดเป็นแผนการเรียนที่มีจุดเน้นและเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความต้องการของตน

จากแนวทางดังกล่าว มีตัวอย่างที่สถานศึกษาได้นำเป้าหมายการเรียนรู้ไปสู่การออกแบบรายวิชาเพิ่มเติมโดยจัดอยู่ภายใต้โครงสร้างเวลาเรียนที่สถานศึกษากำหนด เพื่อสำรวจความถนัด และ/หรือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ฝึกทักษะ และเตรียมความพร้อมและคุณลักษณะที่จำเป็นของแต่ละอาชีพให้กับผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมที่เรียนจบในรายวิชานั้น หรือ เรียนต่อเนื่องเป็นชุดวิชาที่เน้นทักษะฝีมือหรือวิชาการ ดังนี้

2.1 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อสำรวจความถนัด ความสนใจทางอาชีพ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การทำงาน และ/หรือ ฝึกปฏิบัติการทำงานเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน มักจัดเป็นรายวิชาอาชีพหลากหลายให้เลือกเรียน (Shopping Courses) หรือกำหนดเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาและทักษะกระบวนการที่สามารถเรียนจบภายในรายวิชานั้น เช่น รายวิชา ถุงผ้าลดโลกร้อน ช่างขนมไทย การประดิษฐ์ของชำร่วย เป็นต้น ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีเหลือง

2.2 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อฝึกทักษะฝีมือ และ/หรือ มุ่งสู่อาชีพเฉพาะ และเตรียมคุณลักษณะด้านอาชีพ มักจัดให้เรียนต่อเนื่องเป็นชุดรายวิชา (Block Courses) เช่น ชุดรายวิชา ทองเหลือง 1 ทองเหลือง 2 … ทองเหลือง 6 ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีชมพู

2.3 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อเป็นพื้นฐานทางวิชาการสู่อาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และส่งเสริมการประกอบอาชีพ มักจัดให้เรียนต่อเนื่องเป็นชุดรายวิชา (Block Courses) เช่น คณิตศาสตร์เพิ่มเติม1 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 … ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 1 ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 2 ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 3 … ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีเขียว

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

1. โรงเรียนบ้านปะอาว     ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม  |  ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา

2. โรงเรียนบ้านหนองไคร้     ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม  |  ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา

3. โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม     ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม  |  กลุ่มสมรรถนะ  |  คลิปวีดิโอ

4. โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย     ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม  |  ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา

5. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 55     ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม  |  ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา

6. โรงเรียนสรรพวิทยาคม  โครงสร้างรายวิชา  |  ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม  |  ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา  |  คลิปวีดิโอ

7. โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี  โครงสร้างรายวิชา  |  ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา

Advertisement

8.  ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม  ด้านเกษตรกรรม  |  ด้านศิลปะประดิษฐ์  |  ด้านอาหารและโภชนาการ


ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1. โรงเรียนสรรพวิทยาคม    แผนการเรียนเตรียมสู่อุดมศึกษา  |  แผนการเรียนทวิศึกษา  |  ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม  |  ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา

2. โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม   แผนการเรียนเตรียมสู่อุดมศึกษา  |  แผนการเรียนทวิศึกษา

3. โรงเรียนจตุรมิตร  แผนการเรียนทวิศึกษา

4. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30  แผนการเรียนทวิศึกษา

5. โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี   แผนสามัญ  |  แผนเน้นอาชีพ


ตัวอย่างหลักสูตรในโครงการบ่มเพาะและพัฒนาอาชีพเชิงบูรณาการ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนด้านอาชีพให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำไปใช้เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นในระดับชั้น ม.1 – ม.6 ประกอบด้วย คู่มือการสอน (คำอธิบายรายวิชา แผนการสอน การวัดและประเมินผล) นอกจากนั้น บางหลักสูตรมีหนังสือเรียน และ E-Book ซึ่งครูสามารถนำไปใช้ได้ทันที

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– หลักสูตรข้าวและผลิตภัณฑ์

– หลักสูตรลำไยและผลิตภัณฑ์

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

– หลักสูตรอาหาร

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

– หลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพทางการแพทย์แผนไทย

มหาวิทยาลัยพะเยา

– หลักสูตรการบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรการพัฒนาซอฟต์แวร์   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรการพัฒนาสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์   E-Book  |  คู่มือครู 

– หลักสูตรการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรคอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนิเมชั่น   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรคอมพิวเตอร์เกมส์และแอนิเมชั่น   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรเทคนิคคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรศิลปะการถ่ายภาพ   E-Book  |  คู่มือครู

– หลักสูตรสื่อผสม   E-Book  |  คู่มือครู


WEB-LINK

รายวิชาเพิ่มเติมด้านอาชีพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2

1. โรงเรียนบ้านโพซอ

2. โรงเรียนบ้านจอมแจ้งมิตรภาพที่ 193

3. โรงเรียนบ้านแม่สวด

4. โรงเรียนล่องแพวิทยา

5. โรงเรียนบ้านแม่จ๊าง

6. โรงเรียนบ้านไร่วิทยา


หลักสูตรระยะสั้น

1. หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

2. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี

3. วิทยาลัยชุมชนตาก สถาบันวิทยาลัยชุมชน

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ศธ.ย้ำสอบ 38 ค.(2) และสอบคัดเลือกทุกตำแหน่ง ยึดหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นแบบอย่างต่อสังคม

พบเห็นไฟล์หรือเนื้อหาที่ไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดได้ หรือไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งเราได้ที่ :

ส่งข้อความเพื่อแจ้งข้อมูล

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments