วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2024
Google search engine
หน้าแรกHILIGHTว PA ข้าราชการครู ทุกคน ต้องทำอย่างไร เมื่อเกณฑ์ PA เริ่มใช้ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564

ว PA ข้าราชการครู ทุกคน ต้องทำอย่างไร เมื่อเกณฑ์ PA เริ่มใช้ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564

Advertisement

ข้าราชการครู ทุกคน ต้องทำอย่างไร เมื่อเกณฑ์ PA เริ่มใช้ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564

ว PA ข้าราชการครู สวัสดีครับคุณครูทุกท่านวันนี้ครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวการประเมิน หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู หรือ ว9/2564 หรือ วPA  ต้องทำอย่างไร ใครเป็นคนประเมิน? ซึ่งจะเริ่มใช้ 1 ต.ค. 2564 มาฝากทุกท่านครับ ในชุดบทบทความ เตรียมพร้อมคุณครูเข้าสู่ วPA

สืบเนื่องจาก สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู หรือ ว9/2564 หรือ วPA ส่งผลทำให้ไม่ว่าจะเป็น การเลื่อนเงินเดือน การเลื่อนวิทยฐานะ หรือแม้แต่การคงสภาพวิทยฐานะ ก็จะใช้รูปแบบการประเมินแบบเดียวกันครับ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าคุณครูทุกท่านต้องมีการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว PA ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไปครับ

Advertisement

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ก.ค.ศ. ประกาศใช้หลักเกณฑ์ การประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะใหม่ 4 สายงาน

นิยามคำศัพท์ที่ต้องรู้

โดยในหลักเกณฑ์ ว9/2564 หรือ ว PA นี้ได้มีการนิยามคำศัพท์ 2 คำ ที่น่าสนใจ คือ PA และ DPA เรามาทำความรู้จักกับ 2 คำนี้กันดีกว่าครับ

PA (Performance Agreement) หรือ ข้อตกลงในการพัฒนางาน ความหมายก็คือ คุณครูทุกท่านจะต้องทำข้อตกลงกับ ผอ.สถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้ ทักษะ ฯลฯ ตามหลักสูตร สูงขึ้น สอดคล้องกับวิทยฐานะของตนเอง

DPA (Digital Performance Agreement) หรือ ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล ความหมายก็คือ ระบบในการส่งผลการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ แบบออนไลน์ และให้ ผอ.สถานศึกษา นำส่งไฟล์เข้าระบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด และเป็นองค์ประกอบในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

จากคำนิยามข้างต้นก็สามารถสรุปได้ว่า :

PA (Performance Agreement) หรือ ข้อตกลงในการพัฒนางาน : คุณครูทุกท่านต้องทำทุกปีงบประมาณเพื่อใช้ในการประเมิน คงวิทยฐานะ ขอวิทยฐานะ เลื่อนเงินเดือน

DPA (Digital Performance Agreement) หรือ ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล : ระบบส่งผลการประเมินแบบออนไลน์ โดย ผอ.สถานศึกษาเป็นผู้นำส่ง

ว PA ข้าราชการครู ต้องทำอย่างไร ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564 (ยกเว้นครูผู้ช่วย) 

สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจัดทำ ข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ PA มีขั้นตอนดังนี้

Advertisement

ขั้นตอนที่ 1 จัดทำข้อตกลงตามองค์ประกอบข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ PA

จัดทำข้อตกลงตามองค์ประกอบข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ วPA กับ ผอ.สถานศึกษา ตามแบบที่ก.ค.ศ. กำหนด (รอ ก.ค.ศ.) โดยจะต้องจัดทำทุกปีงบประมาณ (เริ่ม ต.ค. – สิ้นสุด ก.ย.) เพื่อใช้ในการประเมินของข้าราชการครูแต่ละคน

* กรณีครูย้ายระหว่างปีงบประมาณ ให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน กับ ผอ.สถานศึกษาใหม่

ขั้นตอนที่ 2 รอรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมิน

โดยผอ.สถานศึกษาจะแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ซึ่ง แต่งตั้งคณะกรรมการในการประเมิน 3 คน ดังนี้

คนที่ 1 ผอ.สถานศึกษา เป็นประธานกรรมการ

คนที่ 2 – 3 แต่งตั้งจากกลุ่มบุคคลดังนี้

1) ศน. หรือ ผู้ที่เคยเป็น ศน. วิทยฐานะไม่ต่ำกว่า ศน. ชำนาญการพิเศษ

2) อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์

3) ครู สถานศึกษาอื่น วิทยฐานะไม่ต่ำกว่า ครูชำนาญการพิเศษ

4) ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 3 กรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง PA และส่งผลผ่านระบบออนไลน์ DPA

3.1 คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะประเมินข้าราชการครู ตามระดับการปฏิบัติงานที่ ก.ค.ศ. กำหนด

3.2 ผอ.สถานศึกษา รายงานผลการประเมินผ่านระบบออนไลน์ DPA

3.3 ข้าราชการครู จะต้อง มีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด และ ต้องได้คะแนนจาก กรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 

ขั้นตอนที่ 4 แจ้งผลการประเมิน

4.1 กรณีผลการประเมินจากคณะกรรมการแต่ละคน ร้อยละ 70 ขึ้นไป

ผอ.สถานศึกษาแจ้งผลการประเมินให้ข้าราชการครูทราบ และ ถือว่าผ่านการประเมินในตำแหน่งและวิทยฐานะ  สามารถเลื่อนเงินเดือน คงสภาพวิทยฐานะ พร้อมทั้งสามารถนำผลการประเมินไปประกอบการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้

4.2 กรณีผลการประเมินจากคณะกรรมการแต่ละคน ต่ำกว่าร้อยละ 70

ผอ.สถานศึกษาแจ้งผลการประเมินให้ข้าราชการครูทราบ และ ถือว่าไม่ผ่านการประเมินในตำแหน่งและวิทยฐานะ ที่ครองอยู่ ในรอบการประเมินนั้น โดยให้ดำเนินการตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 55 วรรค 2 ท่านสามารถเปิดอ่านมาตรา 55 ได้ที่นี่

ขั้นตอนที่ 5 การนำผลการการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ว PA ของคุณครู สามารถไปใช้ดังนี้

5.1 ใช้เพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

5.2 ใช้เพื่อคงสภาพวิทยฐานะ

5.3 ใช้เพื่อเป็นองค์ประกอบเลื่อนเงินเดือน (อ่านรายละเอียดเพิ่มที่นี่)

เรื่องราวที่น่าสนใจ : กคศ.เผย องค์ประกอบ การประเมิน เลื่อนเงินเดือน ขอวิทยฐานะ คงวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ PA เริ่มใช้ 1 ต.ค. 2564

สำหรับบทความต่อไปจะมาในข้อใดนั้น ในบทความชุด เตรียมพร้อมคุณครูเข้าสู่ ว PA ฝากคุณครูติดตามที่ช่องทาง facebook : ครูอัพเดตดอทคอม หรือ ทางไลน์ @kruupdate.com เพื่อไม่ให้พลาดบทความสาระความรู้ดีดีจากครูอัพเดตดอทคอมครับ

พบเห็นไฟล์หรือเนื้อหาที่ไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดได้ หรือไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งเราได้ที่ :

ส่งข้อความเพื่อแจ้งข้อมูล

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments