“ตรีนุช” ปลื้ม ครูขานรับระบบการประเมินวิทยฐานะฯ ใหม่ (PA) ลดภาระงานครู ดีเกินคาด เตรียมรายงาน ครม. เพื่อทราบ

2421

“ตรีนุช” ปลื้ม ครูขานรับระบบการประเมินวิทยฐานะฯ ใหม่ (PA) ลดภาระงานครู ดีเกินคาด เตรียมรายงาน ครม. เพื่อทราบ

"ตรีนุช" ปลื้ม ครูขานรับระบบการประเมินวิทยฐานะฯ ใหม่ (PA) ลดภาระงานครู ดีเกินคาด เตรียมรายงาน ครม. เพื่อทราบ
“ตรีนุช” ปลื้ม ครูขานรับระบบการประเมินวิทยฐานะฯ ใหม่ (PA) ลดภาระงานครู ดีเกินคาด เตรียมรายงาน ครม. เพื่อทราบ

“ตรีนุช” ปลื้ม ครูขานรับระบบการประเมินวิทยฐานะฯ ใหม่ (PA) ลดภาระงานครู ดีเกินคาด
เตรียมรายงาน ครม. เพื่อทราบ

รมว.ศึกษาธิการ ปลื้มความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใหม่ (เกณฑ์ PA) นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ลดความซ้ำซ้อน ลดภาระงานครู และเน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน โดยนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ ตอบสนองนโยบาย 4.0 พร้อมรายงาน ครม. เพื่อทราบต่อไป

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีนโยบาย ในการปรับระบบและวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล 4.0 โดยได้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินฯ พร้อมกัน ทั้ง 4 สายงาน ได้แก่ สายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานนิเทศการศึกษา และสายงานบริหารการศึกษา และได้ประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

เนื่องจากหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเดิม ได้ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ไม่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นการประเมินผลงานย้อนหลัง จึงเป็นการเพิ่มภาระในการสะสมผลงาน เพิ่มภาระงานมากขึ้น และดึงครูออกนอกห้องเรียน ส่งผลให้การจัดการศึกษา ในห้องเรียนขาดความต่อเนื่อง ประกอบกับการประเมินดังกล่าว เกิดค่าใช้จ่ายในการประเมินที่สูง และมีกระบวนการดำเนินการหลายขั้นตอน

รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปรับหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่ นี้ ศธ.ให้ความสำคัญว่าหลักเกณฑ์การประเมินดังกล่าวจะต้องส่งผลไปถึงผู้เรียนและมุ่งเน้นการพัฒนาวิชาชีพมากกว่าการจัดทำผลงานทางวิชาการ และควรมีการบูรณาการการทำงานที่เชื่อมโยงกัน โดยต้องมีการประเมินที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน เป็นธรรม และนำระบบออนไลน์มาใช้ในการประเมินวิทยฐานะ เช่น การยื่นคำขอ และการส่งผลงานทางวิชาการ โดยเน้นระบบการบันทึกข้อมูลที่ลดการใช้กระดาษ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้สังเคราะห์ความคิดเห็น จากนักวิชาการและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่นี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียน สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ให้ได้มีการพัฒนาตนเอง ให้มีศักยภาพสูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะ และทำให้กระบวนการพัฒนาผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดการศึกษา มีแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน สามารถนำมากำหนดแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา หรือแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และที่สำคัญเป็นการ ลดกระบวนการและขั้นตอนโดยนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (ระบบ Digital Performance Appraisal : DPA) เพื่อเป็นการลดภาระในการจัดทำเอกสารและงบประมาณการประเมิน รวมถึงเกิดการเชื่อมโยง บูรณาการ ในระบบการประเมินวิทยฐานะ การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน และการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ ไปในคราวเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ลดความซ้ำซ้อนในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และสะท้อนนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล

“ดิฉันมีแนวคิดในการที่จะปรับหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่ ซึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำ เพราะต้องการเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรง เน้นการพัฒนาวิชาชีพมากกว่าการจัดทำผลงาน ทางวิชาการ และสิ่งที่สำคัญการประเมินต้องไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน เกิดความเป็นธรรม ลดภาระเอกสาร และค่าใช้จ่ายให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งหลังจากการประกาศเกณฑ์ ใหม่ (PA) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ก็ได้มีการสร้างการรับรู้ให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ. จัดกิจกรรมการชี้แจงเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่ฯ (PA) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ ให้ความสนใจเข้าร่วมรับชมและรับฟังมากกว่า 400,000 คน และได้มีการสำรวจความคิดเห็นจากกิจกรรมดังกล่าว

พบว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่ฯ (PA) ได้ถึง 91% และเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ก็ได้มีการจัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจให้กับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ ก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ซึ่งพบว่า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความมั่นใจว่าเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ (PA) สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาได้ 96% ซึ่งดิฉันถือว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเปลี่ยนแปลงระบบการประเมินวิทยฐานะใหม่ ที่ผู้ปฏิบัติจริงมีความคิดเห็นและมีความมั่นใจที่สอดคล้องกับทิศทางนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และดิฉันมีความมั่นใจว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะสามารถพลิกโฉมวิชาชีพครูและนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศได้อย่างแน่นอน และหลังจากนี้จะได้รายงานให้ ครม. เพื่อทราบ ต่อไป” นางสาวตรีนุช กล่าว

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูล “ตรีนุช” ปลื้ม ครูขานรับระบบการประเมินวิทยฐานะฯ ใหม่ (PA) ลดภาระงานครู ดีเกินคาด เตรียมรายงาน ครม. เพื่อทราบ จาก กระทรวงศึกษาธิการ