วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกHILIGHTผลการประชุม คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2564

ผลการประชุม คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2564

Advertisement

 

ผลการประชุม คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2564

Advertisement

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2564 วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และมี รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีมติที่สำคัญ ดังนี้

1. เห็นชอบ (ร่าง) การกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า สำหรับตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

          ตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำมาตรฐานตำแหน่งทุกตำแหน่งใหม่ให้จำแนกตำแหน่งเป็นประเภท และสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทและสายงานที่มีลักษณะงานอย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันให้อยู่ในตำแหน่งประเภทหรือสายงานเดียวกันหรือโดยประมาณเป็นกลุ่มเดียวกัน โดยแสดงชื่อตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้ที่ดำรงตำแหน่งนั้นเพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคลเป็นไปอย่างครอบคลุมและไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ก.ค.ศ. จึงได้ปรับแนวทางการเทียบตำแหน่งโดยพิจารณาจากหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งที่ดำรงอยู่
ตามมาตรฐานตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนด และให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับการกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าตามมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะ โดย (ร่าง) การกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า สำหรับตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. ตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร

2. ตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ รองผู้อำนวยการสำนักงานาเขตพื้นที่การศึกษารองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร

3. ตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภท ก. ข. และ ค. (1) ที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

Advertisement

4. ตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญกำรพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภท ก. ข. และ ค. (1) ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

5. ตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภท ก. ข. และ ค. (1) ที่มีวิทยฐานะชำนาญการ

ทั้งนี้ ให้ยกเลิกการกำหนดตำแหน่งอย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด เพื่อเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด รองศึกษาธิการจังหวัด และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตามที่ ก.ค.ศ. ได้เคยกำหนดไว้เดิม

2. เห็นชอบหลักการเกี่ยวกับการจัดทำโครงการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. เห็นชอบกรอบการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ใหม่ โดยกำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและมีความประสงค์จะเปลี่ยนตำแหน่งเข้าสู่สายงานดังกล่าว จะต้องผ่านการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นตามที่กำหนดในมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพก่อน จากนั้นจึงจะเป็นผู้มีคุณสมบัติในการเข้ารับการสรรหาเข้าสู่ตำแหน่งต่อไป ดังนั้นเพื่อให้ระบบการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีความถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม เพราะกระบวนการดังกล่าวถือเป็นกระบวนการแรกในการกลั่นกรองข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือก รวมทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ต่อไป เช่น การประเมินวิทยฐานะ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีความน่าเชื่อถือสูงและเป็นที่ยอมรับในวงการศึกษา โดยเฉพาะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยในการออกแบบระบบ จัดทำระบบ พัฒนาระบบ และทดลองใช้ระบบดังกล่าว โดยโครงการพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. ออกแบบระบบการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

2. จัดทำระบบการคัดกรองข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสมรรถนะก่อนเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก

3. เพื่อพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาที่ถึงพร้อมด้วยการพัฒนาศักยภาพการบริหาร (Management) และภาวะผู้นำ (Leadership) ก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

4. ประเมินสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

5. จัดทำฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก

กลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

กรอบการดำเนินการ

1. ขั้นตอนการคัดกรองเข้าสู่การพัฒนา

2. ขั้นตอนการเรียนรู้และการพัฒนา

3. ขั้นตอนการประเมินสมรรถนะ

4. ขั้นตอนการเตรียมฐานข้อมูล

ระยะเวลาการดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566

ทั้งนี้ โครงการนี้จะส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการบริหาร (Management) และภาวะผู้นา (Leadership) ก่อนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. จะได้มีตัวอย่างในการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นระบบและมีความต่อเนื่อง และเพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นตัวอย่างของการนำระบบสมรรถนะมาใช้ในการสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อไป

ขอบคุณที่มาจาก : ก.ค.ศ.

พบเห็นไฟล์หรือเนื้อหาที่ไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดได้ หรือไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งเราได้ที่ :

ส่งข้อความเพื่อแจ้งข้อมูล

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments