วันพฤหัสบดี, เมษายน 18, 2024
Google search engine
หน้าแรกครู Tipsรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 เปิดรายชื่อครู สุดยอดครู 11 ประเทศ

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 เปิดรายชื่อครู สุดยอดครู 11 ประเทศ

Advertisement

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564

Advertisement

ครู วท.พังงา คว้ารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 64

เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีการจัดแถลงข่าวครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2564 บทบาทความเป็น “ครู” ในยุคโควิด-19 โดยมี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ร่วมแถลงข่าว

ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นรางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ และมีคุณประโยชน์ต่อการศึกษาในประเทศอาเซียนและติมอร์ เลสเต รวม 11 ประเทศประเทศละ 1 รางวัล โดยจัดมอบรางวัลในทุก 2 ปี และเพื่อถวายเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักการศึกษา โดยความร่วมมือของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ศธ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องสำหรับครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี มาจากการคัดเลือกของ ศธ.ในอาเซียนและติมอร์-เลสเตทั้ง 11 ประเทศ จะมีคุณสมบัติเป็นครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชีวิตของลูกศิษย์และมีคุณูปการต่อวงการศึกษาประเทศละ 1 คน ซึ่งจะมีการคัดเลือกสุดยอดครู 2 ปีครั้ง เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัล ประกอบด้วย เหรียญรางวัลประกาศนียบัตร โล่ เข็มเชิดชูเกียรติทองคำ และเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 เหรียญสหรัฐ โดยมีกำหนดพิธีพระราชทานรางวัล ในวันที่ 29 ต.ค.นี้ ซึ่งครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ปี 2564 มีประวัติที่น่าสนใจดังนี้

1. บรูไน ดารุสซาลาม เปองีรัน ฮาจี โมฮัมหมัด วาฮับ บิน เปองีรัน ฮาจี อับดุลละฮ์ สอนวิชาศิลปะการประกอบอาหาร ที่ School of Hospitality and Tourism, IBTE Sultan Saiful Rijal Campus สายอาชีพ

2. กัมพูชา นายณอน ดารีสอนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียน Quach Mengly Toulbeng, จังหวัด Kampong Cham

Advertisement

3. อินโดนีเซีย น.ส.คอรีอิยะฮ์สอนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา SMP Negeri 32 Bandar Lampung จังหวัด Lampung

4. สปป ลาว นางแสงเพ็ด คูนปะเสิด หัวหน้าวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนมัธยมศึกษาอุดมไซ (Oudomxay) สอนวิชาฟิสิกส์และพัฒนาหลักสูตรการสอนในระดับ ม.ปลาย

5. มาเลเซีย นายโนร์ฮาอิลมี อับดุล มูตาลิบ สอนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนมัธยมศึกษา SMK Jerlun รัฐเคดาห์ ครูต้นแบบการสอน STEM ศึกษาระดับประเทศ ได้รับการเสนอให้เป็น “Master Trainers for Inquiry-Based Science” ในระดับประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

6. เมียนมา นายจอร์ซิน ออง ครูผู้ช่วยสอนอาวุโส (Senior Assistant Teacher) และสอนภาษาอังกฤษที่ No.8 Basic Education Middle School เมืองลาโชว์ รัฐฉาน

7. ฟิลิปปินส์ นายมาเซโล ที โอทินเควท หัวหน้าครูในระดับพื้นที่ 5 โรงเรียน Governor Bado Dangwa Agro-Industrial, Kapangan, Benguet

8. สิงคโปร์ นายหยก จูน เม็ง หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษและสังคม โรงเรียนประถมศึกษา Yu Neng

9. ติมอร์-เลสเต นายวีเซ็นเต มาร์กัล ดา ซิลวา ผู้อำนวยการและสอนภาษาอังกฤษ–โปรตุเกส โรงเรียน Ensino Central Tirilolo Baucau (The Central Basic School of Tirilolo Baucau Vila)

10. เวียดนาม น.ส.ฮ่า หัน เฟื่อง สอนวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนมัธยมศึกษา Huong Can จังหวัด Phu Tho

11. ไทยน.ส.ประทิน เลี่ยนจำรูญ สอนวิชาการตลาดและเศรษฐศาสตร์ ระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคนิค (วท.)พังงา จังหวัดพังงา

ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการมอบรางวัลคุณากร ครูยิ่งคุณ และครูขวัญศิษย์ โดยครูที่ได้รับรางวัลคุณากร ปี 2564 จำนวน 3 ราย คือ น.ส.กล่อมจิต ดอนภิรมย์ ร.ร.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ นางสุมิตรากลิ่นบุบผา ร.ร.บ้านหนองแดน สาขาบ้านโละโคะ จ.กำแพงเพชร และนายสิทธิชัย จันทร์คลาย ร.ร.บ้านไทยสามัคคีจ.สระแก้ว ทั้งนี้ สามารถดูรายชื่อครูที่ได้รับการคัดเลือกได้ที่ เว็บไซด์ www.PMCA.or.th

ด้าน น.ส.ตรีนุช กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับครูที่ได้รับรางวัลและประทับใจในความทุ่มเท เสียสละ ไม่ว่าลูกศิษย์จะมีต้นทุนชีวิตที่ต่างกันอย่างไรแต่ครูมองเห็นถึงศักยภาพที่มีอยู่ภายในลูกศิษย์ สามารถสร้างให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพได้ บทบาทของความเป็นครูในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกที่ 3 เป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อบทบาทของความเป็นครูและการเลื่อนเปิดภาคเรียน ทำให้มีช่วงเวลาปิดเทอมที่ยาวนานขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ซึ่งการปิดภาคเรียนที่นานขึ้นครั้งที่ผ่านมาผลกระทบคือ ปรากฎการณ์ความรู้ถดถอยของผู้เรียน หรือ learning loss จากศึกษาของ กสศ. ถึงมาตรการการจัดการศึกษาจากทั่วโลกในการรับมือกับโควิด-19 พบว่า ในช่วงปิดภาคเรียน จะมีเด็กในช่วงรอยต่อทางการศึกษา ที่ยากจนพิเศษและได้รับผลกระทบจากโควิด ราว 4 ช่วงชั้นและอนุบาลที่มีความเสี่ยงสูงสุดจำนวนรวมประมาณ 400,000 คน ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเสี่ยงอาจหลุดจากระบบการศึกษา.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุรุสภา และAt_HeaR

พบเห็นไฟล์หรือเนื้อหาที่ไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดได้ หรือไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งเราได้ที่ :

ส่งข้อความเพื่อแจ้งข้อมูล

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments