วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2024
Google search engine
หน้าแรกสาระน่ารู้ราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษ ในเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี

ราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษ ในเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี

Advertisement

Advertisement

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565

ราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษ ในเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญา กำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษแม้ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ที่อายุยังไม่เกิน 10 ปี แต่จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าเด็กอายุ 12 ปี กับเด็กอายุ 10 ปี ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก โดยเป็นช่วงอายุที่พัฒนาการด้านความคิด สติ ปัญญา จริยธรรม และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ และยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของตนได้อย่างดีพอ อีกทั้งเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี อยู่ในวัยการศึกษาระดับประถมศึกษา ยังไม่สมควรให้เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการบางประการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และอาจทำให้เด็กเรียนรู้วิธีกระทำความผิดเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การกระทำความผิดซ้ำอีก

Advertisement

ราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษ ในเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565

กรณีจึงสมควรใช้มาตรการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของเด็กอายุ 10 ปี แต่ไม่เกิน 12 ปี ได้รับผลดียิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กกลับตัวเป็นคนดีและเป็นประชากรที่มีคุณภาพ กลับคืนสู่สังคมได้ต่อไป

ราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษ ในเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี

ประกอบกับการกำหนดเกณฑ์อายุของเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษ แม้ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดจากอายุยังไม่เกิน 10 ปี เป็นอายุยังไม่เกิน 12 ปี เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 10 (ค.ศ. 2007) (General Comment No. 10 (2007) Children’s rights in juvenile justice) ที่ออกตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC) และประเทศไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นโดยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563) อีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ห้องเรียนออนไลน์ Project 14 สสวท. ชวนเตรียมพร้อมวิทย์-คณิตรับเปิดเทอมใหม่ ผู้ช่วยชั้นดีห้องเรียนออนไลน์ กับ Project 14

พบเห็นไฟล์หรือเนื้อหาที่ไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดได้ หรือไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งเราได้ที่ :

ส่งข้อความเพื่อแจ้งข้อมูล

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments