สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ เมื่อสมศ. มาประเมิน โรงเรียน

3505

สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ เมื่อสมศ. มาประเมิน โรงเรียน

สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ เมื่อสมศ. มาประเมิน โรงเรียน

สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ เมื่อสมศ. มาประเมิน โรงเรียน
สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ เมื่อสมศ. มาประเมิน โรงเรียน

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 คุณAtthaphon Chanshewe ได้เผยแพร่ข้อมูลบทความ เกี่ยวกับ สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อ สมศ. มาตรวจเยี่ยม เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ครับ

5/4/2562 ทบทวนอีกครั้ง สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อ สมศ. มาตรวจเยี่ยม

วันนี้ขอแนะนำแนวทางการรับการประเมิน จาก สมศ. จากการประมวลข้อมูลหลายๆแห่งที่ทำได้ดีมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

1.ไม่ควรจัดขบวนต้อนรับคณะผู้ประเมินแบบเกินกว่าเหตุ ไม่ต้องมีดอกไม้ต้อนรับ แต่ควรมีการจัดบุคลากรที่ยิ้มแย้มแจ่มใสและคอยนำทางคณะผู้ประเมินไปพบผู้บริหาร จากนั้นผู้บริหารแนะนำตัว ทำความรู้จักกันก่อนเล็กน้อย แล้วรีบใช้โอกาสนี้ ขอให้คณะผู้ประเมินแนะนำตัวกับนักเรียนทุกคน (โดยมากจะใช้กิจกรรมหน้าเสาธงวันแรกและแค่วันเดียวเท่านั้น) ประโยชน์คือ เป็นการส่งสัญญาณกันทั้งโรงเรียนว่า บัดนี้คณะผู้ประเมินมาถึงโรงเรียนแล้ว รวมทั้งนักเรียนได้ปรับตัวว่า

2. ไม่ควรเชิญรับประทานอาหารเย็นหรือไปดูแลทีมผู้ประเมินถึงที่พัก/โรงแรม แต่ควรจัดอาหารที่สะอาด ดูดี มีรสชาติ กรณีอยากให้ทานอาหารท้องถิ่น ก็ควรมีอาหารพื้นๆ ติดไว้สัก 1 – 2 อย่าง เช่น แกงจืด ผัดผัก ไข่เจียว เป็นต้น เผื่อว่าทีมประเมินจะทานกันไม่ได้ บรรยากาศจะดูแย่และจะเกิดความกังวลใจจะเกิดขึ้นตามมา

3. ไม่ควรจัดครูเพื่อประกบทีมผู้ประเมินแบบเงาตามตัว แต่ควรจัดทำดรรชนี หรือจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและมีข้อมูลสำหรับสัมภาษณ์ตามประเด็นการประเมินติดมือไว้ เพื่อลดความกดดันของทีมผู้ประเมินและลดความวุ่นวายในการ ให้ข้อมูลหรือการขอดูเอกสารเชิงประจักษ์ (โปรดอย่ามั่นใจว่าจะมีการสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียวเด็ดขาด)

4. กรณีมีระดับปฐมวัย ไม่ควรให้ทีมประเมินดำเนินการเก็บข้อมูลทันที แต่ควรประสานกับทีมประเมินขอพิจารณาว่า จะมีสัมภาษณ์เด็กปฐมวัย โดยใช้เครื่องมือหรือไม่ ถ้ามีเครื่องมือ เช่น แบบทดสอบ แบบรูปภาพต่างๆ ผู้บริหารและ ครูปฐมวัย ต้องขอศึกษาเครื่องมือนั้นก่อนว่าจะสร้างความสับสนกับเด็กหรือไม่ และสิ่งสำคัญที่สุด ก่อนจะมีการสัมภาษณ์เด็กใดๆ ต้องจัดโอกาสให้ครู ได้พาผู้ประเมินไปแนะนำตัว (มอบตัวกับเด็กอีก 1 ครั้ง) ให้เด็กได้รับรู้ว่า บุคคลภายนอกคนนี้ปลอดภัย ไม่เช่นนั้นท่านจะเจอปัญหา ผู้ประเมินมาบ่นว่า เด็กโรงเรียนนี้พูดน้อย ถามอะไรก็ไม่ตอบ เป็นต้น

5.ไม่ควรมอบของที่ระลึกที่มีมูลค่าราคาสูง (แก้ว แหวน เงิน ทอง) แต่ควรมอบของที่ระลึกที่สร้างประโยชน์ เช่น วรสารโรงเรียน หรือหนังสือแนะนำสถานศึกษา (เผื่อผู้ประเมินได้ใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์) หรือสินค้า/ของที่ระลึก ที่นักเรียนทำขาย(ประหยัด มีคุณค่า แสดงศักยภาพของผู้เรียนและครูที่ส่งเสริม) โดยควรมอบและขอถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกันไว้ก่อนจะมีการรายงานด้วยวาจา เพราะหากบรรยากาศเป็นไปในทางลบ จะไม่เหลือความสร้างสรรค์ ที่อยากจะมอบและนำไปสู่สิ่งที่แย่ลงไปในที่สุด

หัวใจสำคัญของการประเมินภายนอก ไม่ใช่อยู่ที่เราต้อนรับ แต่อยู่ที่เรามีความพร้อมในการให้ข้อมูลที่ผู้ประเมินต้องการได้มากเพียงใด ดังนั้นถ้าต้องการให้การประเมิน สมศ. รอบที่สี่นี้ผ่านพ้นไปด้วยดี โรงเรียนจึงต้องมีความพร้อมและ มีกลยุทธ์สำหรับรับมือที่ดีมากพอ ซึ่งในหลายๆประเทศ รวมทั้งโรงเรียนชั้นนำของประเทศไทย มักจะจัดเตรียมความพร้อมด้วยระบบ “ดรรชนี”

ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก : facebook คุณAtthaphon Chanshewe

พบเห็นไฟล์หรือเนื้อหาที่ไม่สามารถดาวน์โหลดหรือเปิดได้ หรือไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งเราได้ที่ : https://www.facebook.com/krooupdatedotcom/