สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
– นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย
ม.ล.ปริยดา ดิศกุล
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ร่วมเสวนาในการเตรียมความพร้อมครูภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1-3
“เพื่อรองรับหลักสูตรที่ปรับจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษจาก
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็น 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์”
เมื่อวันพุธที่ 1 มิถุนายน 2559 ณ ห้องประชุม สพฐ.1
โดยมี ดร.ยุวดี อยู่สบาย
ผู้อำนวยการสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ., ศึกษานิเทศก์,
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ
ตลอดจนครูแกนนำที่ผ่านการอบรมภาษาอังกฤษจาก
English Boot Camp
เข้าร่วมระดมความคิดเห็นในการเสวนาครั้งนี้
รม
ช.ศึกษาธิการ
กล่าวว่า
การเสวนาในครั้งนี้เป็นการระดมความคิดเห็นจากครูภาษาอังกฤษและผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องทางด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษในสถาน
ศึกษา
เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
ในการเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1-3 จาก 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็น 5
ชั่วโมงต่อสัปดาห์
และการจัดตั้งศูนย์ภาษาอังกฤษทั้ง 4
ศูนย์ในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ
ซึ่งได้รับการตอบรับจากครูภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
เพราะ
ในขณะที่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านภาษาอังกฤษของเด็กไทยยังไม่ดีเท่าที่ควร
จึงจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษของเด็กไทย
โดยเริ่มจากการเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนจาก 1
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็น 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
advertisement
การเสวนาครั้งนี้
ได้กำหนดรูปแบบและเนื้อหาที่จะทำการสอนภาษาอังกฤษ
5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนี้
-
ชั่วโมงที่ 1
นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ เช่น
การนำอินเทอร์เน็ตหรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ มาใช้ -
ชั่วโมงที่ 2
เน้นภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional
English) -
ชั่วโมงที่ 3
จัดการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือ เช่น
อ่านนิทานภาษาอังกฤษ
เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ -
ชั่วโมงที่ 4
เน้นให้เด็กรู้คำศัพท์อย่างน้อยวันละ 5 คำ
เพราะการมีคลังคำศัพท์จำนวนมากจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กเช่นกัน
โดยจะมีการกำหนดชัดเจนว่าในแต่ละระดับชั้นจำเป็นต้องรู้คำศัพท์กี่คำ
อาทิ นักเรียนชั้น ป.1-ม.6
ต้องเรียนรู้คำศัพท์ระดับชั้นละ 1,000 คำ
เมื่อนักเรียนจบการศึกษาชั้น ม.6
ควรรู้คำศัพท์รวมแล้ว 12,000 คำ ซึ่งเราจะไม่ยัดเยียดให้เด็กท่องคำศัพท์
แต่จะใช้วิธีการต่าง ๆ ให้เด็กจำคำศัพท์ได้ เช่น
การดูหนังและการฟังเพลง เป็นต้น -
ชั่วโมงที่ 5
เป็นชั่วโมงซ่อมเสริมผู้ที่เรียนอ่อนภาษาอังกฤษ
ส่วนคนที่เก่งแล้วจะมีกิจกรรมให้เรียนรู้ด้วยตนเอง
เช่น การดูการ์ตูนหรือภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ
ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเก่งมากขึ้น
ทั้งนี้ครูผู้สอนอาจสอดแทรกเนื้อหาด้านไวยากรณ์ในชั่วโมงสอนด้วย
อีกทั้งสามารถปรับหรือสลับเนื้อหาในชั่วโมงที่สอนได้ตามความเหมาะสมตามบริบท
ของโรงเรียนและนักเรียนในชั้นเรียน
นอกจากนี้
ได้มีการเตรียมอบรมครูผู้สอน ณ
ศูนย์ภาษาอังกฤษในภูมิภาคทั้ง 4 ศูนย์ทั่วประเทศ
เพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้เพียงพอกับจำนวนชั่วโมงที่เพิ่มขึ้น
เนื่องจากนโยบายการเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษจะนำมาทดลองใช้กับหลักสูตรใหม่ในภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนที่มีความพร้อม
โดยจะพยายามให้มีจำนวนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
รวมถึงโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐด้วย
จากนั้นจะเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนทั่วประเทศให้มากขึ้น
2560
รมช.ศึกษาธิการ
กล่าวด้วยว่า เราจะต้องมีตำราเรียนภาษาอังกฤษที่ดี
เป็นระบบ และได้มาตรฐาน
เพราะตำราเรียนมีความสำคัญและมีความเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาทั้งระบบ
และส่งผลให้การศึกษาดีขึ้น
อีกทั้งมีแนวคิดในการให้ครูแกนนำที่ผ่านการอบรมจาก
English Boot Camp มาช่วยเขียนตำราภาษาอังกฤษ
โดยมีอาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติเป็นที่ปรึกษา
ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการพยายามระดมทรัพยากรบุคคลที่มีในประเทศมาช่วยกันพัฒนาภาษาอังกฤษร่วมกัน
advertisement