สวัสดีครับทุกท่านวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมก็มีเรื่องมาเล่าสู่กันฟังนะครับเกี่ยวกับหลักสูตรที่ใช้ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วยนะครับ หลายท่านที่จะสอบซึ่งอาจจะยังไม่ทราบว่าครูผูช่วยคืออะไร ขออธิบายง่ายๆนะครับ ครูผู้ช่วยก็คือ ข้าราชการครูที่อยู่ในช่วงฝึกพัฒนาอย่างเข้ม (ทดลองงาน) เป็นเวลา 2 ปีเมื่อครบกำหนดและผ่านการประเมินครบทั้ง 8 ครั้ง(เยอะไปนะ) ก็จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู (คศ.1) ครับ ซึ่งปีนี้ก็เป็นปีที่ทุกคนที่มีวุฒิปริญญาตรีสามารถสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูตำแหน่งครูผู้ช่วยได้ แต่อย่าลืมไปตรวจสอบวุฒิที่ก.ค.ศ.รับรองด้วยนะครับถ้าวุฒิของท่าน ก.ค.ศ.ไม่รับรองจะไม่สามารถสอบได้นะครับเอาละพิมพ์มายาวแล้วขอนำเสนอ ข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการสอบและหลักสูตรที่ใช้ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งครูผูช่วย ดังนี้ครับ
กำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปี พ. ศ. 2560 มีรายละเอียดดังนี้
1) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ระหว่างวันที่ 21-29 มีนาคม 2560
2) รับสมัครสอบแข่งขัน วันพุธที่ 29 มีนาคมถึงวันอังคารที่ 4 เมษายน 2560 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
3) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขัน ภายในวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2560
4) สอบข้อเขียน
ภาค ก ความรอบรู้ความสามารถทั่วไปและความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมและอุดมการณ์ของความเป็นครูมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2560
ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2560
5) สอบสัมภาษณ์ ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ วันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2560 เป็นต้นไป
6) ประกาศผลการสอบแข่งขัน ภายในวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560
หลักสูตรที่ใช้ในการสอบบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครั้งที่1 ปี 2560 จะแบ่งหลักสูตรในการสอบออกเป็น 3 ภาค ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
----------- ภาค ก ความรอบรู้ความสามารถทั่วไปและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมและอุดมการณ์ของความเป็นครูมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 150 คะแนน ประกอบไปด้วย
1) ความรอบรู้ 50 แนนให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัยในเรื่องต่อไปนี้
1.1 สังคมเศรษฐกิจการเมืองและเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
1.2 นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
1.3 วัฒนธรรมไทยและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
1.4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ
1.4.1 กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ
1.4.2 กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
1.4.3 กฎหมายเกี่ยวกับสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.4.4 กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.4.5 กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก
1.4.6 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
1.4.7 กฎหมายกฎระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถ้ามีให้ระบุไว้ในประกาศรับสมัครสอบแข่งขันด้วย
1.5 ความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
2) ความสามารถทั่วไป 50 คะแนน ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัยในเรื่องดังต่อไปนี้
2.1 ความสามารถด้านตัวเลขให้ทดสอบโดยการวัดความสามารถในการคิดเลขสรุปเหตุผลเกี่ยวกับตัวเลขและข้อมูลต่างๆ
2.2 ความสามารถด้านภาษาไทยให้ทดสอบความเข้าใจภาษาการอ่านจับใจความการสรุปความการตีความการขยายความการเรียงข้อความการสะกดคำการแต่งประโยคและคำศัพท์
2.3 ความสามารถด้านเหตุผลให้ทดสอบโดยการวัดความสามารถในการคิดสรุปหาเหตุผลและอุปมาอุปไมย
3) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมและอุดมการณ์ของความเป็นครูมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 50 คะแนนให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัยในเรื่องต่อไปนี้
3.1 คุณธรรมจริยธรรมและอุดมการณ์ของความเป็นครู
3.2 มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
3.3 มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
3.4 มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน
3.5 มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
--------- ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง 150 คะแนน
1) ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษา 75 คะแนนให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัยในเรื่องต่อไปนี้
1.1 หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร
1.2 หลักการสอนที่เน้นการสอนคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.3 จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
1.4 การพัฒนาผู้เรียน
1.5 การบริหารจัดการชั้นเรียน
1.6 การวิจัยทางการศึกษา
1.7 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.8 การวัดและประเมินผลการศึกษา
1.9 ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง
2) ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับกลุ่มวิชาหรือทางหรือสาขาวิชาเอก 75 คะแนนให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนและหรือสอบภาคปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้ในเนื้อหากลุ่มวิชาหรือทางหรือสาขาวิชาเอก
-------------- ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ 50 คะแนนให้ประเมินโดยวิธีการสัมภาษณ์สังเกตตรวจสอบเอกสารหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมโดยประเมินจาก 1 ประวัติส่วนตัวและการศึกษา 2 บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา 3 วุฒิภาวะทางอารมณ์ 4 การมีปฏิภาณไหวพริบ 5 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เจตคติและอุดมการณ์