จากการสํารวจระดับสติปัญญาเด็กไทยโดยกรมสุขภาพจิตพบว่าสถานการณ์
ปัญหาระดับสติปัญญาเด็กไทย IQ ยังเป็นเรื่องที่น่าห่วงและจํา เป็นต้องได้รับ
การช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จากผลการสํา รวจระดับสติปัญญา
ในปีพ.ศ.2554 พบว่าเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยIQเท่ากับ98.59 (ค่าเฉลี่ยปกติ90–109)
ซึ่งถือว่าเป็นค่าระดับสติปัญญาที่อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนไปทางตํ่าซึ่งสอดคล้อง
กับคะแนนการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติในปี2555 พบว่า เด็กไทย
มีทักษะทางด้านการคิดและการใช้ภาษาอยู่ในเกณฑ์ตํ่าดังเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์
การเรียนคณิตศาสตร์การอ่านและวิทยาศาสตร์มีคะแนนรวมอยู่ในอันดับที่
50 จาก 65 ประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ
การพัฒนา(OrganizationforEconomic Co-operationand Development–
OECD) ขณะที่คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เฉลี่ยในระดับประเทศ
ก็ยังอยู่ในระดับตํ่ากว่าเกณฑ์ปกติคือ มีค่าคะแนนอยู่ที่ 45.12 จากค่าคะแนน
ปกติ50-100
ในการส่งเสริมและพัฒนา IQ EQ เด็กไทย จํา เป็นต้องพัฒนาทักษะ 3 ด้าน
ได้แก่ ทักษะด้านการคิด การใช้ภาษา และทักษะด้านอารมณ์ซึ่งเป็นพื้นฐาน
ที่จํา เป็นสํา หรับชีวิต โดยต้องเริ่มฝึกตั้งแต่วัยทารก การฝึกทักษะด้านการคิด
ผู้ปกครองสามารถฝึกทักษะให้แก่เด็กด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์
(Pre-math skills) โดยผ่านการเล่น หรือกิจกรรมในชีวิตประจํา วันที่
สนุกสนาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเลี้ยงดูเด็กโดยพ่อแม่หรือญาติพี่น้อง
ส่วนทักษะทางคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นนั้นต้องอาศัยทักษะพื้นฐานด้าน
คณิตศาสตร์ในช่วงปฐมวัย เช่นเดียวกับบ้านที่ต้องการรากฐานที่แข็งแรง
พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูจึงเป็นผู้ที่มีส่วนสําคัญในการช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ด้านคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ด้วยวิธีการสอนที่เป็นเรื่องใกล้ๆ ตัว
ใช้อุปกรณ์การสอนที่อยู่ในชีวิตประจําวัน
หนังสือการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
เล่มนี้สถาบันราชานุกูลกรมสุขภาพจิตได้จัดทําขึ้นเพื่อให้นักวิชาการด้านการศึกษา
และบุคลากรสาธารณสุข ผู้ปฏิบัติงานใช้เป็นแนวทางในการแนะนําส่งเสริม
ความรู้แก่ พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กเพื่อนําความรู้ไปส่งเสริมทักษะพื้นฐานด้าน
การคิดในเชิงคณิตศาสตร์แก่บุตรหลานที่อยู่ในปฐมวัย พร้อมทั้งการพัฒนา
ชุดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมทักษะการอ่าน และทักษะ
ด้านอารมณ์ ในเด็กปฐมวัย เพื่อการพัฒนาศักยภาพของสมองและการรู้คิด
ของเด็กไทยในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์
ผู้อํานวยการสถาบันราชานุกูล
ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข