สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) มุ่งเน้นพัฒนาการศึกษา
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยทำ หน้าที่
หลักเป็นผู้ขับเคลื่อนการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ด้วยการศึกษาค้นคว้า
วิจัย พัฒนา ออกแบบ จัดทำ ต้นฉบับและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อ
ยกระดับคุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศไทยได้อย่างทั่วถึง
และมีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาชาติภายใต้บริบทของความเป็นไทย
สสวท. ได้จัดทำโครงการพัฒนาตำราและสื่อ สำ หรับหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครูวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีขึ้นเพื่อพัฒนาตำราที่สอดคล้องกับบริบทไทยและได้มาตรฐานทัดเทียมนานา
ประเทศ หนังสือ “ฝึก คิด พิชิตคณิต PISA” นี้เป็นหนังสือที่พัฒนาขึ้นโดยคณะทำ งานของโครงการ
ดังกล่าวมีเนื้อหาประกอบด้วยโจทย์ปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันการเสนอแนวคิด
ในการแก้โจทย์ปัญหาซึ่งผู้อ่านครูผู้สอน ผู้ปกครอง และแม้แต่นักเรียนเองสามารถนำ โจทย์ปัญหา
เหล่านั้นมาใช้ในการฝึกฝนเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล และการนำความรู้
คณิตศาสตร์ที่เรียนมาไปใช้แก้ปัญหาอันเป็นสมรรถนะสำคัญที่พึงบังเกิดกับผู้เรียน ในอันที่จะเป็น
พลเมืองที่มีความสามารถในการดำรงชีวิตที่ดีต่อไป
สสวท. ขอขอบคุณ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญประธานมูลนิธิวิทยาศาสตร์ ดร.ปรีชา-ประไพ
อมาตยกุล ในการเป็นที่ปรึกษาของโครงการและขอขอบคุณคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย
โรงเรียน และสถาบันอื่น ๆที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาหนังสือเล่มนี้ สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า
หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้นำ ไปใช้
หรือปรับให้เหมาะสมกับศักยภาพและความสามารถของผู้เรียน
หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทำให้หนังสือเล่มนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย
จักขอบคุณยิ่ง
(นางพรพรรณ ไวทยางกูร)
ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สารบัญของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้
บทนำ
สถานการณ์
• รูปแบบขั้นบันได
• สวนฝรั่ง
• ทางเลือก
• ชั้นวางหนังสือ
• สเก็ตบอร์ด
• บันได
• ลูกเต๋า
• สามเหลี่ยม
• ช่างไม้
• โรงงาน
• ลูกอมสีต่าง ๆ
• แบบทดสอบวิทยาศาสตร์
• การส่งออก
• ขยะ
• แผ่นดินไหว
• การสนับสนุนประธานาธิบดี
• คดีปล้น
• รถยนต์ที่ดีที่สุด
• อัตราแลกเปลี่ยน
• คุยผ่านอินเทอร์เน็ต
• พื้นที่ทวีป
• สูงขึ้น
• รอยเท้า
• ความเร็วของรถแข่ง
• ทางเลื่อน
บรรณานุกรม
คณะผู้จัดทำ
บทนำ
โครงการ PISA(Programme for International Student Assessment) เป็นโครงการประเมินผล
นักเรียนระดับนานาชาติซึ่งจะสะท้อนถึงคุณภาพของการศึกษาของประเทศไทยเมื่อเทียบกับนานาชาติ
การประเมินตามโครงการ PISAเน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนในการใช้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับ
ชีวิตจริงเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ชีวิตในสังคมยุคใหม่ นอกจากนั้นยังรวมถึงการศึกษา
ต่อในระดับสูง การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต โดยเริ่มทำการประเมินในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และ
จะประเมินทุก ๆ 3 ปี
โครงการ PISAจะประเมินสมรรถนะของนักเรียนอายุ 15 ปี โดยไม่ระบุชั้นเรียนและประเมินใน 3
ด้านหลัก ๆ ได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน(ReadingLiteracy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematics Literacy)
และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (ScientificLiteracy) ต่อมาภายหลัง มีการประเมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ปัญหา
(Problem Solving) และการร่วมมือกันในการแก้ปัญหา (Collaborative Problem Solving) ด้วย
การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในโครงการ PISAจะประเมินสมรรถนะของนักเรียนในการเลือกและประยุกต์ใช้
คณิตศาสตร์ในการจัดการกับปัญหาและแก้ปัญหาในบริบทหรือสถานการณ์ที่หลากหลายซึ่งต้องใช้การให้เหตุผล
แนวคิด กระบวนการ ข้อเท็จจริงและเครื่องมือต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และสามารถเลือกคำตอบที่เหมาะสม
และสมเหตุสมผลกับบริบทของปัญหาซึ่งสมรรถนะการรู้เรื่องคณิตศาสตร์นี้ จะช่วยให้เข้าใจถึงบทบาทของ
คณิตศาสตร์ที่มีต่อโลกและสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่พลเมืองของโลกในการคิดและตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์และ
รับผิดชอบต่อสังคม
บริบทหรือสถานการณ์ของปัญหาที่ใช้ในการประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์จะเป็นบริบทหรือสถานการณ์
เกี่ยวกับบุคคล สังคม/ชุมชน อาชีพและวิทยาการ/วิทยาศาสตร์ เนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการประเมิน
หลัก ๆ ได้แก่ ปริมาณ (Quantity)ความไม่แน่นอนและข้อมูล (Uncertainty & Data) การเปลี่ยนแปลงและ
ความสัมพันธ์ (Change& Relationships) และปริภูมิและรูปร่าง (Space &Shape) ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้แนวคิด
(Concepts) ความรู้ (Knowledge) และทักษะทางคณิตศาสตร์รวมทั้งใช้สมรรถนะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ซึ่งได้แก่การสื่อสารและการสื่อความหมายการแปลงสถานการณ์ปัญหาในชีวิตจริงเป็นปัญหาคณิตศาสตร์
ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์การให้เหตุผลและสร้างข้อสรุป กลวิธีการใช้คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา การใช้สัญลักษณ์
และภาษาทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์
หนังสือ “ฝึก คิด พิชิตคณิต PISA” ได้นำโจทย์ปัญหาที่ใช้ในการประเมินด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ที่
เผยแพร่แล้วมาเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์และเสนอแนวคิดในการแก้โจทย์ปัญหารวมทั้งเสนอแนะโจทย์ปัญหา
เพิ่มเติมเพื่อให้ครูและนักเรียนได้เห็นแนวทางในการฝึกฝนการคิดแก้โจทย์ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อฝึก
ให้นักเรียนคิด วิเคราะห์และสามารถแก้โจทย์ปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลายได้ ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วย
ให้นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาตามแนวทางของการประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในโครงการPISA
<<ตัวอย่างหนังสือ>>
ขอบคุณที่มาจาก : google drive